Page 452 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 452
๔๔๐
๓) ชื่อหรือยี่ห้อหรือส านักของธนาคาร
๔) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือค าจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
๕) สถานที่ใช้เงิน
๖) วันและสถานที่ออกเช็ค
๗) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
เช็คต้องมีรายการตามที่กฎหมายก าหนดดังกล่าว หากมีรายการไม่ครบถ้วน ตราสารดังกล่าวจะไม่
2
สมบูรณ์เป็นเช็ค
เมื่อพจารณาความหมายและรูปแบบของเช็คตามที่กฎหมายบัญญัติ เห็นได้ว่า เช็คคือหนังสือหรือ
ิ
ี
ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจ านวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอกคนหนึ่ง
หรือให้ใช้ตามค าสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน
3
ส าหรับเช็คแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ เช็คสั่งจ่ายตามค าสั่ง และเช็คจ่ายผู้ถือ
(๑) เช็คจ่ายตามค าสั่ง หมายถึง เช็คที่มีการระบุชื่อผู้รับเงินไว้ในเช็ค ธนาคารจะจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อ
ในเช็คดังกล่าว
(๒) เช็คจ่ายผู้ถือ หมายถึง เช็คที่มีข้อความสั่งจ่ายผู้ถือโดยจะมีชื่อผู้รับเงินหรือไม่ก็ตาม ธนาคารจะ
จ่ายเงินให้แก่ผู้ถือเช็คดังกล่าว เช็คในลักษณะดังกล่าวเรียกว่าเช็คเงินสด
เช็คเป็นตราสารซึ่งสามารถโอนแก่กันได้ ส าหรับเช็คจ่ายตามค าสั่ง สามารถโอนแก่กันได้ด้วยการที่
ผู้ทรงเช็คสลักหลังแล้วส่งมอบ ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์มาตรา ๙๑๗ ประกอบมาตรา ๙๘๙
่
การสลักหลังมี ๒ แบบ ได้แก่ การสลักหลังเฉพาะ เป็นการสลักหลังเช็คโดยระบุชื่อผู้รับโอน พร้อมลงลายมือชื่อ
ผู้สลักหลัง และการสลักหลังลอย เป็นการสลักหลังเช็คโดยลงลายมือชื่อผู้สลักหลังเพียงอย่างเดียว
ส่วนเช็คจ่ายผู้ถือ สามารถโอนแก่กันได้ด้วยการส่งมอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๙๑๘ ประกอบมาตรา ๙๘๙
๒. สิทธิของผู้ทรงเช็คในทางแพ่ง
ผู้ทรงเช็ค หมายถึง บุคคลผู้มีเช็คไว้ในครอบครอง หากเป็นเช็คจ่ายตามค าสั่ง ผู้ทรงเช็ค ได้แก่ ผู้รับเงิน
่
หรือผู้รับสลักหลัง หากเป็นเช็คจ่ายผู้ถือ ผู้ทรงเช็ค ได้แก่ ผู้ถือ ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ มาตรา
๙๐๔
2 สหธน รัตนไพจิตร, ค าอธิบายกฎหมายตั๋วเงิน, พิมพ์ครั้งที่ ๑๗, (กรุงเทพ : ส านักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๖๓), หน้า ๒๘๐.
3 ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์, ค าอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน, พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพ : ส านักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๖๑), หน้า ๓๕๖.