Page 455 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 455
๔๔๓
๕. ผู้ทรงเช็คเป็นผู้เสียหายในทางอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระท าความผิดทางอาญาฐานใด
ฐานหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔)
ั
กรณีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอนเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔ ก าหนดให้การใช้เช็ค
ในบางประการเป็นความผิดทางอาญาตามที่กล่าวข้างต้น ผู้ทรงเช็คซึ่งถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค
ย่อมได้รับความเสียหายจากการไม่ได้รับช าระเงิน ผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวและมีสิทธิด าเนินคดี
กับผู้ออกเช็คซึ่งเป็นผู้กระท าความผิด
้
้
ส าหรับการเริ่มต้นคดี ผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิฟองคดีเอง โดยเป็นโจทก์ยื่นฟองผู้ออกเช็คเป็นจ าเลย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพจารณาความอาญา มาตรา ๒๘ (๒) หรืออาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
ิ
ั
เพอให้ด าเนินคดีกับจ าเลย ซึ่งการด าเนินคดีในเวลาต่อมา พนักงานอยการจะเป็นผู้ฟองคดีแทนผู้เสียหาย
ื่
้
โดยพนักงานอยการอยู่ในฐานะโจทก์ ส่วนผู้ออกเช็คอยู่ในฐานะจ าเลย อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายสามารถขอเข้า
ั
เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๐
๖. เขตอ านาจศาลในคดีอาญา
ิ
ส าหรับคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพจารณาความอาญา มาตรา ๒๒ ก าหนดศาลที่มีอานาจพจารณาคดี
ิ
ได้แก่
(๑) ศาลแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดในเขตอ านาจ
(๒) ศาลแห่งท้องที่ที่จ าเลยมีที่อยู่หรือถูกจับ
(๓) ศาลแห่งท้องที่ที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนความผิดนั้น
ส าหรับคดีเช็คในส่วนอาญา ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้น สถานที่ตั้ง
ของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายต้องฟองคดีต่อศาลแห่ง
้
7
ท้องที่ที่ธนาคารดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตศาล
้
แต่หากพนักงานอยการเป็นโจทก์ฟองคดีแทนผู้เสียหาย สามารถฟองคดีต่อศาลแห่งท้องที่ที่พนักงาน
ั
้
สอบสวนได้สอบสวนความผิดด้วย ซึ่งกรณีอาจมีสถานที่อนมาเกี่ยวข้องเนื่องจากท้องที่ที่มีการออกเช็ค ท้องที่ที่มี
ื่
การส่งมอบเช็ค ท้องที่ที่มีการน าเช็คไปเรียกเก็บเงิน ท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ต่างเป็นท้องที่
7 ธานิศ เกศวพิทักษ์, ค าอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค ๑-๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพ :
บริษัท กรุงสยามพับลิชชิ่ง จ ากัด, ๒๕๕๗), หน้า ๔๒๖.