Page 470 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 470
๔๕๘
ปัจจุบันมีผู้เสพยาเสพติดถูกด าเนินคดีในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดที่ยังไม่ปรากฏ
ผู้เสียหาย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ , ๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทาง
ิ
บก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ ทวิ วรรคหนึ่ง , ๑๕๗/๑ วรรคสอง เข้าสู่การพจารณาพพากษาของศาล
ิ
จ านวนมาก จากข้อมูลของส านักแผนงานและงบประมาณ ส านักงานศาลยุติธรรม ในกลุ่ม ศาลแขวง
ศาลจังหวัด และศาลอาญา ระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๖๔ ถึง เดือนเมษายน ๒๕๖๔ มีผู้กระท าความผิด
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ จ านวน ๕๐,๕๔๙ คดี เป็นความผิดฐานขับรถขณะเมาสุรา
๒๗,๑๙๕ คดี เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติด ๗,๘๑๒ คดี จากการท างานได้มีโอกาสสอบถาม
ผู้กระท าความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระท าผิดพบว่า ผู้กระท าความผิด
ส่วนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการขับขี่รถ เหตุที่เสพยาเสพติดเนื่องจากต้องการท างานขับขี่รถได้มากขึ้น
อกส่วนหนึ่งผู้เสพยาเสพติดไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถโดยตรง แต่จะใช้รถเป็นพาหนะในการ
ี
เดินทางเป็นปกติแต่เนื่องจากยังมีสารเสพติดอยู่ในร่างกาย โดยข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
๔
กระทรวงสาธารณะสุข ระบุช่วงเวลาที่มีโอกาสตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะของผู้เสพเมทแอมเฟตามีน
ส าหรบผู้เสพไม่ประจ า ๑ ถึง ๒ วัน ส าหรับผู้เสพประจ า ๒ ถึง ๖ วัน ส าหรับผู้เสพเรื้อรัง ๒ ถึง ๓ สัปดาห์
จึงอาจท าให้มีสารเสพติดค้างอยู่ในร่างกายขณะขับขี่รถ เมื่อเจ้าพนักงานต ารวจตรวจพบสารเสพติดก็ต้อง
ิ
ด าเนินคดีฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติด เมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ผู้พิพากษามักใช้ดุลพนิจ
พจารณาลงโทษตามบัญชีมาตรฐานโทษซึ่งพจารณาจากจ านวนครั้งที่กระท าความผิด หรือประเภทของรถ
ิ
ิ
ที่ผู้เสพยาเสพติดขับขี่ เช่น ผู้เสพยาเสพติดขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ส่วนบุคคลแล้วถูกจับกุม
ิ
ด าเนินคดีครั้งแรกมักใช้ดุลพนิจรอการลงโทษ โดยก าหนดเงื่อนไขให้ไปพบพนักงานคุมประพฤติ ท างาน
บริการสังคม และห้ามจ าเลยยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด หากเป็นการกระท าความผิดครั้งที่สอง มักใช้ดุลพนิจ
ิ
ลงโทษจ าคุก หรือถ้าผู้เสพยาเสพติดขับขี่รถบางประเภท เช่น รถยนต์บรรทุก รถโดยสารประจ าทาง แม้เป็น
การกระท าความผิดครั้งแรกก็จะใช้ดุลพนิจลงโทษจ าคุกโดยไม่รอการลงโทษ การลงโทษดังกล่าว
ิ
มีลักษณะเพอป้องกันอาชญา กรรมจากผู้กระท าความผิดหรือผู้มีแนวโน้มจะกระท าความผิดในสังคมโดย
ื่
การใช้“โทษจ าคุก”และ“เรือนจ า”เป็นเครื่องมือมิให้มีการกระท าความผิดซ้ าหรือไม่กล้ากระท าความผิด
ิ
แต่ปรากฏว่ายังมีผู้เสพยาเสพติดถูกด าเนินคดีฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการพจารณาของ
ศาลจ านวนมาก บางส่วนเป็นผู้กลับมากระท าความผิดซ้ าแม้ว่าจะเคยได้รับโทษจ าคุกมาแล้ว เป็นเหตุให้
ผู้เสพยาเสพติดเข้าไปอยู่ในเรือนจ านวนมาก มีผลกระทบโดยตรงกับผู้เสพยาเสพติดและครอบครัว
๔ ส านักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (๒๕๕๙), คู่มือการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ
(ออนไลน์), (๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔). https://bdn.go.th/attachment/download/download.php?WP
=GT9gMTqCqWOchKwtpTggWap3GQAgG2rDqYyc4Uux.