Page 472 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 472

๔๖๐


                 กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติด


                            ในสมัยโบราณการเดินทางไปที่ใดก็อาศัยการเดิน ถ้าเดินทางไปในระยะทางไกลก็จะใช้สัตว์
                 เป็นพาหนะ เช่น ช้าง ม้า ฯลฯ แต่ในปัจจุบันนี้การคมนาคมมีความสะดวกรวดเร็วทั้งทางบก ทางเรือ และ

                 ทางอากาศ โดยเฉพาะการคมนาคมทางบก มีรถยนต์ประเภทต่างๆ เป็นพาหนะจ านวนมากขึ้น ดังนั้นจึงมี
                 กฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เกิดขึ้นซึ่งเป็นกฎหมายที่มีหลักการและ

                              ื่
                 วัตถุประสงค์เพอควบคุมการใช้ถนนหรือทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ให้
                                    ื่
                 ปฏิบัติตามกฎหมายเพอสงวนไว้ซึ่งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่ต้องเดินทาง เป็นกฎหมายที่
                 ไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้นโดยเหตุผลทางด้านศีลธรรม แต่ถูกบัญญัติขึ้นโดยเหตุผลทางเทคนิค หากการกระท าใด

                 กฎหมายเห็นว่า มีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดอันตรายหรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแม้จะยังไม่มบุคคลได้รับ
                                                                                               ี
                 ความเสียหายก็สามารถบัญญัติว่าเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาได้ ดังเช่น ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่
                 เสพยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ ทวิ  บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่

                 เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตาม

                 กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่ผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติก าหนดโดย
                 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                            ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานจราจร หรือผู้ตรวจการมีอ านาจ
                 จัดให้มีการตรวจสอบผู้ขับขี่รถบางประเภทตามที่ผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติก าหนดโดยประกาศใน

                 ราชกิจจานุเบกษาว่าได้เสพยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามวรรคหนึ่ง

                 หรือไม่ และหากผลการตรวจสอบในเบื้องต้นปรากฏว่าผู้ขับขี่นั้นไม่ได้เสพก็ให้ผู้ขับขี่นั้นขับรถต่อไปได้
                            ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ตรวจสอบ ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร พนักงาน

                                                                             ื่

                 สอบสวน เจ้าพนักงานจราจร หรือผู้ตรวจการมีอานาจกักตัวผู้นั้นไว้ เพอด าเนินการตรวจสอบได้ภายใน
                 ระยะเวลาเท่าที่จ าเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การตรวจสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว และเมื่อผู้นั้นยอมรับการตรวจสอบ
                 แล้ว หากผลการตรวจสอบในเบื้องต้นปรากฏว่าไม่ได้เสพ ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที

                            การตรวจสอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก าหนดในกฎกระทรวง”
                            มาตรา ๑๕๗/๑ บัญญัติว่า “ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของหัวหน้าเจ้าพนักงาน

                 จราจรพนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานจราจร หรือผู้ตรวจการที่ให้มีการตรวจสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา ๔๓ ทวิ

                 หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของผู้ตรวจการที่ให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา ๔๓ ตรี ต้องระวาง
                 โทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

                            ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษสูงกว่าที่ก าหนดไว้ในกฎหมายว่า

                                                                                 ี
                 ด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอกหนึ่งในสาม และให้ศาลสั่ง
                 พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีก าหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
   467   468   469   470   471   472   473   474   475   476   477