Page 71 - annual 2561
P. 71
ยุคแรกของ
คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำานาจหน้าที่ระหว่างศาล
โดย วันนี้ ขอน�าทุกท่านมารู้จักกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการวินิจฉัย
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์
ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาล ซึ่งท่านได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
มาด�ารงต�าแหน่งนี้เป็นวาระที่ ๒ ในขณะที่ท่านด�ารงต�าแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะใน
ศาลฎีกา ปัจจุบันท่านด�ารงต�าแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ท่านนั้นนอกจากจะ
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในปัจจุบันซึ่งมีบทบาทในการวางหลักกฎหมายปกครองใน
ค�าวินิจฉัยชี้ขาด ในอดีตท่านยังเป็นผู้ที่มีบทบาทส�าคัญในการก่อร่างสร้างตัวส�านักงาน
คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
และท�าหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาล
คนแรกที่วางระบบและแนวทางการท�างานของฝ่ายเลขานุการฯ ซึ่งใช้ด�าเนินการมา
จนถึงปัจจุบัน ขอเชิญพบกับศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์
ส�านักงานเลขานุการฯ : ขออนุญาตเรียนถามท่านเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
และการด�าเนินงานของคณะกรรมการในยุคแรกว่าที่มาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด
อ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลเป็นมาอย่างไร
ดร.จิรนิติ : ก�าเนิดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่าง
ศาล มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่แบ่งองค์กร
ผู้ใช้อ�านาจตุลาการจากเดิมให้ศาลยุติธรรมมีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง กับ
ศาลทหารซึ่งมีอ�านาจพิจารณาคดีอาญาทหาร โดยให้ศาลปกครองซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่
มีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือ
ในก�ากับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างกันเอง อันเนื่องมาจากการกระท�า
หรือการละเว้นการกระท�าที่หน่วยงานนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือต้องรับผิดชอบ
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่มีกฎหมายบัญญัติ ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้ง
ศาลปกครองเป็นศาลคู่ขนานขึ้นมา หรือที่นักวิชาการเรียกว่า “ระบบศาลคู่” ผู้ร่าง
รัฐธรรมนูญสมัยนั้นจึงคิดว่าอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการทับซ้อนกันหรือความไม่ชัดเจน
ระหว่างอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมกับศาลปกครองในทางเนื้อหา
จึงบัญญัติให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบมาจากศาลยุติธรรม
63