Page 10 - คำอธิบายการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
P. 10
๓
โดยวิธีการประชุมผานสื่ออิเล็กทรอนิกส ทั้งนี้ เพื่อรองรับกระบวนพิจารณาของศาลใหสามารถทําในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกสไดจนเสร็จสิ้น
๑.๑.๒ ความหมายของการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส
๑) การพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑ กลาวถึงการพิจารณา ดังนี้
“กระบวนพิจารณา” หมายความวา การกระทําใด ๆ ตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายนี้
อันเกี่ยวดวยคดีซึ่งไดกระทําไปโดยคูความในคดีนั้นหรือโดยศาล หรือตามคําสั่งของศาลไมวาการนั้น
จะเปนโดยคูความฝายใดทําตอศาลหรือตอคูความอีกฝายหนึ่ง หรือศาลทําตอคูความฝายใดฝายหนึ่งหรือ
ทุกฝาย และรวมถึงการสงคําคูความและเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายนี้
๔
“การพิจารณา” หมายความวา กระบวนพิจารณาทั้งหมดในศาลใดศาลหนึ่งกอน
ศาลนั้นชี้ขาดตัดสินหรือจําหนายคดีโดยคําพิพากษาหรือคําสั่ง
๕
“การนั่งพิจารณา” หมายความวา การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดี เชน ชี้สองสถาน
๖
สืบพยาน ทําการไตสวน ฟงคําขอตาง ๆ และฟงคําแถลงการณดวยวาจา
ดังนั้น การพิจารณาจึงรวมกระบวนพิจารณาทั้งหมด ตั้งแตมีคดีเกิดขึ้นและยื่นฟอง
ตอศาล การกระทําทุกอยางหลังจากนั้นไมวาจะเปนคูความกระทําตอคูความอีกฝายหนึ่ง หรือคูความ
กระทําตอศาลหรือศาลกระทําตอคูความ รวมถึงการยื่น สง และรับ คําฟอง คําคูความ คําใหการและ
เอกสารตาง ๆ ยังรวมถึงการนั่งพิจารณาคดี เชน ชี้สองสถาน สืบพยาน ทําการไตสวน ฟงคําขอตาง ๆ
และฟงคําแถลงการณดวยวาจา ซึ่งถาการพิจารณากระทําโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสก็จะหมายถึง
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส
๒) วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส
ขอกําหนดของประธานศาลฎีกา วาดวยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ. ๒๕๖๓
ไดใหนิยามคําวา “อิเล็กทรอนิกส” หมายความวา การประยุกตใชวิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟา
คลื่นแมเหล็กไฟฟา หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคลายกัน และใหหมายความรวมถึงการประยุกตใชวิธีการ
ทางแสง วิธีการทางแมเหล็ก หรืออุปกรณที่เกี่ยวของกับการประยุกตใชวิธีตาง ๆ เชนวานั้น
ตัวอยางเชน โทรศัพท แฟกซ อีเมล อินเทอรเน็ต สมารทโฟน แท็บเลต โปรแกรม
คอมพิวเตอร สื่อออนไลนก็ถือวาเปนอิเล็กทรอนิกสดวย เพราะคําวา “วิธีการทางอิเล็กตรอนนั้น”
จะหมายรวมถึงการสงขอมูลไปตามสายโทรศัพท สายแลน สายไฟเบอร หรือแมแตการสงขอมูล
ผานดาวเทียมก็เปนการประยุกตใชวิธีทางอิเล็กตรอนทั้งหมด
๔ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑ (๗)
๕ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑ (๘)
๖ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑ (๙)