Page 21 - คำอธิบายการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
P. 21

๑๔


               ตามบทบัญญัติแหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง เชน กรณีคูความปฏิบัติผิดระเบียบหรือผิดหลง

               ในกระบวนการพิจารณา หรือใชสิทธิไมถูกตอง คูความฝายที่เสียหายอาจยกขอคานเรื่องผิดระเบียบนั้น

               ขึ้นกลาวได แตตองไมชากวา ๘ วัน โดยคูความฝายนั้นตองมิไดดําเนินการอันใดขึ้นใหมหลังจากที่ไดทราบ

               เรื่องผิดระเบียบแลว หรือตองมิไดใหสัตยาบันแกการผิดระเบียบนั้น ๆ ไมวาโดยตรงหรือโดยปริยาย
               หากเกินระยะเวลาตามที่กฎหมายกําหนดคูความไมสามารถรองขอแกไขในเรื่องที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงนั้นได

                                                                                                   ิ
                                                                                                      
               ซึ่งหลักเกณฑดังกลาวยังนํามาใชกับการดําเนินกระบวนพิจารณาดวยวิธีการทางอิเล็กทรอนกสดวย
                                                                                                       
               โดยศาลอาจสั่งใหคูความที่ดําเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือผิดหลงทําการแกไขใหถูกตองได
               ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกําหนด เวนแตขอผิดระเบียบหรือผิดหลงดังกลาวเกิดจาก

               ความไมสุจริตของคูความฝายนั้น  จะเห็นไดวา การดําเนินกระบวนพิจารณาดวยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสนั้น
                                          ๒๐
               กําหนดหลักการที่ผอนคลายกวามาตรา ๒๗ แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง กลาวคือ

               ใหดุลพินิจที่กวางขึ้นและไมเครงครัดแกศาลในการแกไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงที่เกิดขึ้น

               ในกระบวนพิจารณาดวยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส

                              อยางไรก็ตาม เนื่องจากบทบัญญัติดังกลาวอยูในขอกําหนดของประธานศาลฎีกา

               วาดวยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ. ๒๕๖๓ ดังนั้น ขอผิดระเบียบหรือขอผิดหลงในที่นี้จึงตอง

               เกี่ยวของกับการใชวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสในการดําเนินกระบวนพิจารณา และการใชดุลพินิจของศาล

               ใหแกไขกระบวนพิจารณานั้น ศาลตองพิจารณาวาขอผิดระเบียบหรือผิดหลงดังกลาวเกิดจากความไมสุจริต
               ของคูความฝายนั้นหรือไมดวย หากคูความกระทําลงโดยรูอยูแลวหรือจงใจอาศัยชองวางของเทคโนโลยี

               ก็แสดงใหเห็นวาไมสุจริต ศาลก็อาจไมสั่งใหแกไขได

                              ตัวอยางเชน ในคดีแพง จําเลยยื่นคําใหการผานระบบรับสงอิเล็กทรอนิกส แตเกิดเหตุ

               ไฟฟาหรือสัญญาณอินเทอรเน็ตขัดของ ทําใหคําใหการในรูปขอมูลอิเล็กทรอนิกส ไมเขาสูระบบรับสง

               อิเล็กทรอนิกส โดยจําเลยไมทราบขอขัดของดังกลาวมากอน ตอมาในวันนัด ศาลตรวจสํานวนในระบบแลว
               ไมพบคําใหการจึงพิพากษาคดีไปฝายเดียวโดยถือวาจําเลยขาดนัดยื่นคําใหการ ดังนี้ หากจําเลยมาศาล

               แจงวา จําเลยยื่นคําใหการแลว การที่ศาลพิจารณาพิพากษาคดีไปฝายเดียวโดยจําเลยขาดนัดยื่นคําใหการ

               จึงเปนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาและอนุญาตใหจําเลย

               ยื่นคําใหการใหมได












                       ๒๐  ขอกําหนดของประธานศาลฎีกา วาดวยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓

               ขอ ๕ “ศาลอาจสั่งใหคูความที่ดําเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือผิดหลงทําการแกไขใหถูกตองไดภายในระยะเวลาและ
               เงื่อนที่ศาลเห็นสมควรกําหนด เวนแตขอผิดระเบียบหรือผิดหลงดังกลาวเกิดจากความไมสุจริตของคูความฝายนั้น”
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26