Page 86 - Q8 -
P. 86

85

                                                          บทที่ 8

                                              การรายงานผลการตรวจราชการ


                             การรายงานผลการตรวจราชการเปนรายงานที่จัดทําขึ้นหลังจากผูตรวจราชการไดดําเนินการ
                    ตรวจราชการในประเด็นตาง ๆ ครบถวนแลว ตองมีการสรุปรายงานผลการตรวจราชการเพื่อนําเสนอให

                    ผูบริหารและเจาหนาที่ที่ปฏิบัติงานพิจารณาและรับทราบตอไป ขั้นตอนนี้จึงเปนขั้นตอนที่สําคัญของการ
                    ตรวจราชการ เพราะการนําเสนอและรายงานผลการตรวจราชการทําใหผูบริหารไดรับทราบขอสรุปการ
                    ตรวจราชการ ขอมูลสภาพภายในหนวยงาน ขอเท็จจริงและขอมูลที่ไดจะถูกรวบรวมและนํามาวิเคราะห
                    หาประเด็นปญหา สาเหตุ รวมทั้งแนวทางแกไขปรับปรุงที่จะนําไปใชใหเกิดประโยชนตอการดําเนินงาน

                    ของศาลที่ไดรับการตรวจ โดยมีการนําเสนอรายงานดวยวาจาใหผูบริหารศาลที่ไดรับการตรวจราชการ
                    ทราบเพื่อไดมีโอกาสแลกเปลี่ยนขอมูลเพิ่มเติมกันในระหวางผูตรวจราชการกับเจาหนาที่ที่เกี่ยวของของ
                    ศาลที่รับการตรวจราชการ  และเมื่อมีการนําเสนอใหผูบริหารศาลที่รับการตรวจและเจาหนาที่
                    ที่เกี่ยวของแลว ตองมีการจัดทํารายงานผลการตรวจราชการรายงานไปยังประธานศาลฎีกา  เลขาธิการ

                    สํานักงานศาลยุติธรรม  และผูพิพากษาหัวหนาศาลที่รับการตรวจ ภายใน ๓๐ วัน หลังจากตรวจ
                    ราชการแลวเสร็จ โดยมีวัตถุสงคเพื่อ
                             ๑) รวบรวมขอมูลและขอเท็จจริงตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการตรวจราชการ ชวยใหขอมูลที่มี
                    คุณคาไมสูญหายและถูกเก็บรวบรวมไวอยางเหมาะสม

                             ๒) เปนชองทางสําคัญในการสื่อสารระหวางผูตรวจราชการกับฝายบริหารของศาลยุติธรรม
                    รวมทั้งสนับสนุนใหเกิดการแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางผูบริหาร
                             ๓) ทําใหมั่นใจไดวาระบบการตรวจราชการภายในไดรับการประเมินอยางเปนระบบ
                             ๔) ทําใหไดขอมูลและขอสรุปที่เปนประโยชน รวมทั้งขอเสนอแนะและแนวทางแกไข

                    ปรับปรุงซึ่งงายและสะดวกตอผูบริหารในการพิจารณาปรับปรุงการดําเนินงานเพื่อบริหารราชการใหดี
                    ยิ่งขึ้น
                             แนวทางการรายงานผลการตรวจราชการ มี ๒ แนวทาง ดังตอไปนี้


                    ๘.๑ การนําเสนอรายงานดวยวาจา

                             การนําเสนอดวยวาจา ผูตรวจราชการสามารถแจงผลการตรวจราชการใหศาลที่รับการตรวจ
                    ทราบไดโดยทันทีเพื่อใหปญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติราชการที่ตรวจพบสามารถนําไปแกไขไดโดย

                    ทันที เนื่องจากความลาชาอาจสงผลกระทบดานลบหรือความเสียหายตอหนวยงานได เชน เหตุการณ
                    สอไปในทางทุจริตเกิดขึ้นตองรีบแกไขอยางเรงดวน  การไมไดรับความรวมมือจากเจาหนาที่ที่รับการ
                    ตรวจ หรือการรายงานผลการตรวจราชการในโครงการพิเศษตามที่ผูบริหารมอบหมาย และบางกรณี

                    ผูตรวจราชการอาจตองการความเห็นจากผูบริหารและผูรับการตรวจเกี่ยวกับประเด็นขอขอของที่ตรวจ
                    พบก็ได
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91