Page 79 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 79

ดุลพาห




            ธุรกิจ อีกทั้งปัญหาเรื่องประเภทของผู้รับหลักประกันที่ถูกกำาหนดไว้เพียงธุรกิจบางประเภท
            การกำาหนดรายละเอียดในเรื่องการประเมินมูลค่า และการบังคับหลักประกันที่ให้อำานาจผู้รับ

            หลักประกันและผู้บังคับหลักประกันโดยไม่มีการกำาหนดวิธีการบังคับหลักประกัน จึงควรมี

            การแก้ไขให้มีธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเข้ามาเป็นผู้รับหลักประกัน กำาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ
            คุณสมบัติผู้ประเมินมูลค่าและวิธีการประเมินมูลค่า และกำาหนดการบังคับหลักประกันที่เป็น

            ธรรมทั้งสองฝ่าย


            ความเป็นมาการนำาทรัพย์สินมาเป็นหลักประกัน


                     การประกันหนี้ด้วยทรัพย์ของประเทศไทยแต่เดิมมีเพียงการจำานองและจำานำาเท่านั้น

            แต่การจำานองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่กฎหมายกำาหนด ส่วนจำานำาต้อง
            ส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ผู้รับจำานำาด้วย จึงเป็นข้อจำากัดในการนำาทรัพย์สินมาใช้ดำาเนินการ

            ทางธุรกิจทำาให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่อาจเข้าถึงเงินทุนในระบบได้ โดยกฎหมาย
            หลักประกันทางธุรกิจได้รับหลักการมาจากหลักประกันแบบลอย (Floating Charge) ของ

            ประเทศอังกฤษและการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ (Secured Transactions) ของสหรัฐอเมริกา  ๑
            ที่เกิดจากทฤษฎีความยินยอมโดยปริยายและทฤษฎีการจำานองทรัพย์สินในอนาคตที่สามารถ

            นำาทรัพย์สินมาเป็นหลักประกัน แต่ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน และจะถูกบังคับก็ต่อเมื่อมีเหตุบังคับ
                       ๒
            หลักประกัน  ไม่ว่าตามสัญญาหรือตามกฎหมายที่จะทำาให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นทรัพย์เฉพาะ
            สิ่ง   ซึ่งประเทศไทยได้นำาหลักการในกฎหมายแม่แบบว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ (Law on
               ๓
            Secured Transactions) ของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่าง

            ประเทศ (UNCITRAL) มาอนุวัติเป็นกฎหมายภายใน คือ พระราชบัญญัติหลักประกันทาง

            ธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งการนำาทรัพย์สินมาเป็นหลักประกัน ผู้ให้หลักประกันยังคงสามารถที่จะ
            ใช้ทรัพย์สินที่นำามาเป็นหลักประกันได้จนกว่าจะมีการบังคับหลักประกัน


            ๑.  ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ และ ศยามล ไกยูรวงศ์. (๒๕๕๘). การปฏิรูปกฎหมาย ปฏิรูปเพื่อ SME
                และ เศรษฐกิจไทย. นนทบุรี : มาตา การพิมพ์. หน้า ๓๗ – ๓๙.
            ๒.  ธนวัฒน์  ชุมฉิม.  (๒๕๕๔).  มาตรการทางกฎหมายในการนำาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้ามาเป็นหลัก
                ประกันทางธุรกิจ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า
                ๒๐ และ ๔๖.
            ๓.  วิภานันท์ ประสมปลื้ม. (๒๕๕๘). ตัวอย่างการบังคับหลักประกันทางธุรกิจในประเทศอังกฤษ. (ออนไลน์).
                เข้าถึงได้จาก : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635645.  [๒๕๖๐, ๑๘ ธันวาคม].




            68                                                               เล่มที่ ๓ ปีที่ ๖๕
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84