Page 80 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 80

ดุลพาห




               ผู้รับหลักประกันทางธุรกิจ


                        การทำาสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเป็นสัญญาระหว่างผู้รับหลักประกันและผู้ให้หลัก
               ประกัน ซึ่งผู้รับหลักประกันทางธุรกิจมีการกำาหนดประเภทไว้ในพระราชบัญญัติหลักประกัน

               ทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๓ จะต้องเป็นสถาบันการเงินตาม
               พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยจะต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน

               และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ รวมทั้งธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
               การเกษตร ผู้รับหลักประกันอีกประเภทหนึ่ง คือ บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย

               ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการเกี่ยวกับประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยโดยตรงหรือ

               โดยอ้อม และนอกจากธุรกิจเกี่ยวกับสถาบันการเงินและบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกัน
               วินาศภัยแล้ว กฎกระทรวงกำาหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๙ กำาหนดให้

               บริษัทเกี่ยวกับเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้รับหลักประกันได้ ดังนั้น ผู้รับหลักประกัน
               ตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำาหนดไว้ในพระราชบัญญัติ

               หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ และกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวงกำาหนดให้บุคคลอื่น
               เป็นผู้รับหลักประกัน พ.ศ. ๒๕๕๙ เท่านั้น แม้บริษัทที่มีความพร้อมจะเป็นผู้รับหลักประกัน

               และมีความใกล้ชิดกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ถ้าไม่มีกฎหมายกำาหนดไว้ย่อม
               ไม่อาจเป็นผู้รับหลักประกันได้ส่งผลให้การแข่งขันการให้สินเชื่อของผู้รับหลักประกันมีน้อย

               และผู้ที่ต้องการสินเชื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างจำากัด


                        ผู้รับหลักประกันตามกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจของประเทศไทยจะต้องเป็น
               นิติบุคคลที่กำาหนดไว้ตามกฎหมายแตกต่างกับหลักประกันแบบลอย (Floating Charge) ของ

               ประเทศอังกฤษและการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ (Secured Transactions) ตาม U.C.C.

               Section 9-102 (a) (72) ของสหรัฐอเมริกามิได้มีการกำาหนดห้ามมิให้บุคคลธรรมดาหรือ
               นิติบุคคลเป็นผู้รับหลักประกันและไม่ได้กำาหนดประเภทของผู้รับหลักประกัน หากผู้ที่เล็งเห็น

               มูลค่าของทรัพย์สินที่นำามาเป็นหลักประกันสามารถเข้ามาเป็นผู้รับหลักประกันได้ ซึ่งอาจ
               เป็นการเกื้อหนุนกันของธุรกิจที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งการกำาหนดประเภทของผู้รับหลัก

               ประกันมิได้เป็นการรับรองว่าผู้รับหลักประกันจะไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ให้หลักประกันที่มี
               อำานาจต่อรองน้อยกว่าเนื่องจากการป้องกันการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อีกทั้งการเปิด

               โอกาสให้ผู้ที่มีความพร้อมที่จะเป็นผู้รับหลักประกันย่อมเป็นการทำาให้เกิดการแข่งขัน





               กันยายน - ธันวาคม ๒๕๖๑                                                      69
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85