Page 81 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 81
ดุลพาห
ทางธุรกิจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงเงินทุนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น
เรื่องการกำาหนดประเภทของผู้รับหลักประกันตามกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจควรมี
การบัญญัติให้ผู้ที่มีความพร้อมในการให้สินเชื่อขออนุญาตเป็นผู้รับหลักประกันโดยการ
ออกกฎกระทรวงโดยอาศัยอำานาจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๗ เพื่อเป็นการคัดกรองผู้ที่มีความพร้อมจะเป็นผู้รับหลักประกัน
ทรัพย์สินที่นำามาเป็นหลักประกัน
การนำาทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันต้องพิจารณาพระราชบัญญัติหลักประกันทาง
ธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๘ และกฎกระทรวงที่กำาหนดประเภทของทรัพย์สินไว้ คือ กิจการ
สิทธิเรียกร้อง สินค้าคงคลัง เครื่องจักร อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางปัญญา หากทรัพย์สินใด
ไม่มีกำาหนดไว้ไม่อาจนำามาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ โดยทรัพย์สินที่นำามาเป็นหลักประกัน
ทางธุรกิจจะมีทั้งทรัพย์สินมีรูปร่างและทรัพย์สินไม่มีรูปร่างที่มีราคาและถือเอาได้ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๑๓๘ ซึ่งทรัพย์สินมีรูปร่างจะต้องมอง
เห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น ที่ดิน ไม้ยืนต้น ส่วนทรัพย์สินไม่มีรูปร่างจะไม่อาจมองเห็นและ
สัมผัสได้ เช่น ทรัพยสิทธิ สิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา และทรัพย์สินที่นำามาเป็นหลักประกันทาง
ธุรกิจอาจเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ รวมทั้งสิทธิที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
และสังหาริมทรัพย์ตามคำานิยามในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๙ และมาตรา
๑๔๐ หากเปรียบเทียบกับทรัพย์สินของประเทศอังกฤษ คือ Property แล้วจะหมายถึง
๔
๕
อสังหาริมทรัพย์ (Freehold Interests in Land) และสังหาริมทรัพย์ (All Other) ซึ่ง
๖
สหรัฐอเมริกาก็แบ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน โดยการนำามาเป็น
หลักประกันแบบลอยของประเทศอังกฤษสามารถนำามาเป็นหลักประกันได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์
และสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้าเป็นการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา การนำาทรัพย์สินมา
๔. บัญญัติ สุชีวะ. (๒๕๕๙). คำาอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๗). กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภา.
หน้า ๓ – ๔.
๕. อนุวัตร์ โกวิทวัฒนชัย. (๒๕๕๒). การใช้สิทธิในงานลิขสิทธิ์เป็นหลักประกันการชำาระหนี้และการบังคับคดี.
วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า ๙๐ – ๙๑.
๖. สุวิทย์ สุวรรณ. (๒๕๕๓). “การประกันด้วยทรัพย์ตามหลักกฎหมายอเมริกา”. วารสารกฎหมาย, คณะ
นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า ๔๗ – ๔๘.
70 เล่มที่ ๓ ปีที่ ๖๕