Page 74 - สารสารสนเทศทางการศึกษาปี 2562
P. 74
60
4.1.1.6 จังหวัดสงขลา
จำนวนสถานศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 1,217 แห่ง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 4
อันดับแรก ดังนี้ สพฐ. 506 แห่ง อปท. 356 แห่ง สช. 161 แห่ง และ กศน. 143 แห่ง
จำนวนนักเรียน นักศึกษา มีจำนวน 373,786 คน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 4 อันดับแรก ดังนี้
สพฐ. 129,037 คน สช. 97,952 คน อว. 65,357 คน และ อปท. 35,093 คน จำนวนครู
มีจำนวนทั้งสิ้น 18,477 คน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 4 อันดับแรก ดังนี้ สพฐ. 10,090 คน
สช. 4,278 คน อว. 2,329 คน และ สอศ. 1,151 คน และ จำนวนห้องเรียน มีจำนวนทั้งสิ้น
4,558 ห้อง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 4 อันดับแรก ดังนี้ สพฐ. 2,776 ห้อง อปท. 715 ห้อง
สช. 560 ห้อง และ กศน. 238 ห้อง
4.1.2 ข้อมูลคุณภาพทางการศึกษา
4.1.2.1 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
1) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2558 – 2561 ภาพรวมสำนักงานศึกษาธิการภาค 5 มีคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละทุกวิชา ลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2558 2559 2560 และกลับเพิ่มขึ้นในปี 2561 และ
เมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา มีคะแนน
ี
เฉลี่ยร้อยละทุกวิชาเพิ่มขึ้นในปี 2559 และลดลงในปี 2560 และกลับเพิ่มขึ้นอกครั้งในปี 2561
แต่สำหรับจังหวัดพัทลุง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2558 2559 และ
2560 และกลับเพิ่มขึ้นในปี 2561
และเมื่อพิจารณารายวิชา พบว่า วิชาภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น
ในปี 2559 และลดลงในปี 2560 และกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2561 วิชาภาษาอังกฤษ มีคะแนน
เฉลี่ยร้อยละ ลดลงในปี 2559 แต่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2560 และ 2561 วิชาคณิตศาสตร์
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เพิ่มขึ้นในปี 2559 แต่กลับลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2560 และ 2561 และ
วิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ลดลงอย่าต่อเนื่องในปี 2559 และ 2560 แต่กลับเพิ่มขึ้น
ในปี 2561
2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ระหว่างปีการศึกษา 2558 – 2561 ภาพรวมสำนักงานศึกษาธิการภาค 5 มีคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละทุกวิชาเพิ่มขึ้นในปี 2559 และลดลงในปี 2560 และกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2561 และ
เมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาเพิ่มขึ้นในปี 2559 และลดลงในปี 2560 และกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ในปี 2561
และเมื่อพิจารณารายวิชา พบว่า วิชาภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 – 2561 วิชาภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เพิ่มขึ้นในปี 2559 แต่
กลับลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2560 และ 2561 วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนน
เฉลี่ยร้อยละ ลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2559 และ 2560 แต่กลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2561
3) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2558 – 2561 พบว่า ในภาพรวมสำนักงานศึกษาธิการภาค 5
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาเพิ่มขึ้นในปี 2559 และลดลงในปี 2560 และกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง