Page 78 - สารสารสนเทศทางการศึกษาปี 2562
P. 78
64
4.1.4.2 ข้อมูลสาขางานที่มีความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษาและสาขางาน
ที่มีผู้สำเร็จการศึกษามากที่สุด 5 อันดับ ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 5
ข้อมูลสาขางานที่มีความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษาและสาขางานที่มีผู้สำเร็จ
การศึกษามากที่สุด 5 อันดับ ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 พบว่า หลักสูตร ปวช.
มีความต้องการสาขาการตลาดมากที่สุด รองลงมา คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่างยนต์ การโรงแรม
และ อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่สถานศึกษาสามารถผลิตกำลังคนในสาขาช่างยนต์มากที่สุด รองลงมา
คือ การบัญชี ช่างไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การโรงแรมและบริการ หลักสูตร ปวส. มีความต้องการ
สาขาช่างยนต์มากที่สุด รองลงมา คือ ช่างไฟฟ้ากำลัง เทคโนโลยีสารสนเทศ การบัญชี และ
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในขณะที่สถานศึกษาสามารถผลิตกำลังคนในสาขาการบัญชีมากที่สุด รองลงมา
คือ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการโรงแรมและบริการ
4.2 อภิปรายผล
4.2.1 ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา
ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 ประจำปีการศึกษา
2562 พบว่า สังกัด สพฐ. มีจำนวนสถานศึกษา จำนวนนักเรียน จำนวนครู และจำนวนห้องเรียน
มากที่สุด รองลงมาคือ สังกัด สช. และ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเห็นได้ว่า
ั
เป็นสังกัดของหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งสอดคล้องกบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ปี 2560 มาตรา 54 ที่กำหนดไว้ว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี
ุ
ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย นอกจากนี้
จังหวัดที่มีจำนวนสถานศึกษามากที่สุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงมา คือ จังหวัดสงขลา
และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาจเนื่องม า จา ก จังหวัดนครศรีธรรมราชมีขนาดพื้นที่ใหญ่
ขนาด 9,942.502 ตร.กม. และตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือ
เลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 หมวดที่ 1 (๓) กำหนดให้สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
จะต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกัน ที่ตั้งอยู่เดิมไม่น้อยกว่าหกกิโลเมตร ตามเส้นทาง
คมนาคม อย่างไรก็ตาม จังหวัดสงขลา กลับมีจำนวนนักเรียนมากที่สุด จำนวน 373,786 คน
ในขณะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนนักเรียนจำนวน 302,484 คน อาจแสดงให้เห็นว่า
สถานศึกษาในจังหวัดสงขลา เป็นที่นิยมของผู้ปกครองหรือผู้เรียนในพื้นที่ภาคใต้
4.2.2 ข้อมูลคุณภาพทางการศึกษา
4.2.2.1 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาลดลงอย่างต่อเนื่อง
จากปี 2558 2559 2560 และกลับเพิ่มขึ้นในปี 2561 และเมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า
ึ้
ทุกจังหวัดมีค่าเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาเพิ่มขนในปี 2561 และเมื่อพิจารณารายวิชา พบว่า วิชาภาษาไทย
วิชาภาษาอังกฤษ และ วิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้นในปี 2561 ยกเว้น
วิชาคณิตศาสตร์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2560 และ 2561 ทั้งนี้
อาจเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ครูผู้สอนไม่ตรงสาขาวิชา ทำให้ขาดความชำนาญ
ด้านความรู้และเทคนิคในการสอนที่ถูกต้อง (รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ
ปีการศึกษา 2559 : สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.)