Page 80 - สารสารสนเทศทางการศึกษาปี 2562
P. 80

66






                       มีแนวโน้มค่าเฉลี่ยลดลง อาจเป็นไปได้ว่า การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
                       นอกระบบของสถานศึกษายังไม่ชัดเจน สถานศึกษาอาจไม่มีแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
                       ที่ชัดเจน นอกจากนี้ ด้านผู้เรียน กศน. อาจประสบปัญหาในด้านความคงทนในการเรียนรู้ นั่นคือ
                       ผู้เรียน กศน.ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาเรียนในภาคเรียนนแรก แล้วผ่านมา 1 ปี 6 เดือน ถึงจะสอบ

                       N-Net ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในระบบที่เรียนวิชาหลักต่อเนื่องจบระดับชั้น จึงอาจทำให้ผู้เรียน
                       กศน. มีความคงทนในการเรียนรู้น้อยลงเมื่อถึงเวลานั้น
                                  4.2.2.4 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอิสลามศึกษา (I-NET)
                                  จากผลการวิเคราะห์ I-NET ระหว่างปีการศึกษา 2557 – 2561 พบว่า อิสลามศึกษา

                       เบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยร้อยละลดลงอย่างต่อเนื่อง อิสลามศึกษาระดับกลาง มีค่าเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้นทุกปี
                       ยกเว้น ปี 2559 และ อิสลามศึกษาระดับสูง มีค่าเฉลี่ยร้อยละที่เพิ่มลดสลับกัน ดังนี้
                       ปี 2558 และ 2560 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปี 2559 และ 2561 ลดลง จะเห็นได้ว่า ผล I-NET
                       มีค่าเฉลี่ย ไม่คงที่ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี (2561) พบว่า ปัญหาที่ผลการทดสอบ

                       I-NET ตกต่ำ เนื่องจาก ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
                       ด้านอิสลามศึกษา (I-NET) การอบรมครู ส่วนใหญ่เน้นอบรมครูสอนวิชาสามัญมากกว่าครูสอน
                       วิชาศาสนา นักเรียนไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสอบ I-NET เนื่องจากไม่ทราบจุดประสงค์และ

                       การนำไปใช้ประโยชน์จากการสอบ ครูผู้สอนไม่ตรงวุฒิ โรงเรียนไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ
                       เนื่องจากปัญหาอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร พฤติกรรมครูผู้สอนที่เน้นการบรรยายมากกว่าการสอน
                       โดยวิธีที่หลากหลาย เป็นต้น
                                  4.2.2.5 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (B-NET)
                                  จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบ B-NET ระหว่างปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า

                       ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย มีค่าเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น แต่ระดับมัธยมศึกษา
                       ตอนปลาย มีค่าเฉลี่ยร้อยละลดลงในปี 2561 นอกจากนี้ คะแนนเฉลี่ยรวมแต่ละระดับไม่ถึง
                       เกณฑ์ร้อยละ 50 ทั้งปีการศึกษา 2560 และ 2561 เว็บไซต์ 47 ปี วิถีปริยัติ (2559) ได้นำเสนอ

                                                                                           ั
                                                               ์
                       สาเหตุที่คะแนนเฉลี่ยรวมของ B-NET ไม่ถึงเกณฑ 50% ดังนี้ 1) ผู้เรียนไม่คุ้นเคยกบรูปแบบข้อสอบ
                       ของ B-NET เนื่องจากเป็นข้อสอบเชิงวิเคราะห์ความน่าจะเป็น ในขณะที่การจัดการเรียนการสอนของ
                       โรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นแบบบรรยายเป็นหลัก 2) ครูผู้สอนส่วนหนึ่งไม่สอนตามตัวชี้วัด
                       ไม่มีการวางแผนว่าบทเรียนนี้นักเรียนต้องได้ความรู้อะไร ส่งผลให้นักเรียนไม่เกิดองค์ความรู้

                       ตามที่ตัวชี้วัดกำหนด  และ 3) ปัญหาด้านการอ่าน กล่าวคือ อ่านแล้วไม่สามารถตีความได้
                       จับใจความไม่ได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนยังขาดความคิดวิเคราะห์ นั่นเอง
                              4.2.3 ข้อมูลด้านโอกาสและการเข้าถึงการได้รับบริการทางการศึกษา
                                  4.2.3.1 สัดส่วนนักเรียนสายสามัญต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษา ปี 2562

                                  จากผลการวิเคราะห์ ภาพรวมสำนักงานศึกษาธิการภาค 5 มีสัดส่วนนักเรียนสายสามัญ
                       ต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษา เท่ากับ 64 : 36 และเมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า จังหวัด
                       นครศรีธรรมราช มีสัดส่วนนักเรียนสายอาชีวศึกษามากที่สุด เท่ากับ 60 : 40 รองลงมา ได้แก่
                       จังหวัดชุมพร เท่ากับ 65 : 35 จังหวัดสงขลา เท่ากับ 66 : 34 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เท่ากับ

                       66 : 34 และจังหวัดพัทลุง เท่ากับ 69 : 31 ตามลำดับ เนื่องจาก การเพิ่มผู้เรียนสายอาชีวศึกษา
                       เป็นนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการผลักดันผู้เรียนหันมาสนใจ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85