Page 77 - สารสารสนเทศทางการศึกษาปี 2562
P. 77

63






                              4.1.3 ข้อมูลด้านโอกาสและการเข้าถึงการได้รับบริการทางการศึกษา
                                  4.1.3.1 สัดส่วนนักเรียนสายสามัญต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษา ปี 2562
                                  สัดส่วนนักเรียนสายสามัญต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษา ปี 2562 พบว่า ภาพรวม
                       สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 มีสัดส่วนนักเรียนสายสามัญต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษา เท่ากับ 64 : 36

                       และเมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสัดส่วนนักเรียนสายอาชีวศึกษา
                       มากที่สุด เท่ากับ 60 : 40 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดชุมพร เท่ากับ 65 : 35 จังหวัดสงขลา เท่ากับ
                       66 : 34 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เท่ากับ 66 : 34 และจังหวัดพัทลุง เท่ากับ 69 : 31 ตามลำดับ
                                  4.1.3.2 จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุระหว่าง 15-59 ปี

                       ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2561
                                  จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุระหว่าง 15-59 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2558-
                       2561 พบว่า ภาพรวมสำนักงานศึกษาธิการภาค 5 มีแนวโน้มลดลง โดยเฉลี่ยปีละ 0.6 ตั้งแต่
                       ปี 2558 ถึง ปี 2561 คือ 10.0 ปี 9.4 ปี 9.5 ปี และ 9.4 ปี และเมื่อพิจารณาร่ายจังหวัด พบว่า

                       จังหวัดชุมพรและพัทลุง มีแนวโน้มจำนวนปีการศึกษาเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยปีละ 0.13 และ 0.1
                       ตามลำดับ สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ สงขลา  มีแนวโน้มจำนวนปีการศึกษา
                       ลดลง โดยเฉลี่ยปีละ 0.1 0.73 และ 1.4 ตามลำดับ

                                  4.1.3.3 ร้อยละผู้เรียนต่อประชากรกลุ่มอายุ (3-5 ปี/ 6-11ปี/ 12-14ปี/ 15-17 ปี)
                       ปีการศึกษา 2562
                                  ร้อยละผู้เรียนต่อประชากรกลุ่มอายุ (3-5 ปี/ 6-11ปี/ 12-14ปี/ 15-17ปี) ปีการศึกษา
                       2562 ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 พบว่า ระดับอนุบาล (3-5 ปี) มีร้อยละของผู้เรียน
                       มากที่สุด คือ ร้อยละ 108.22 รองลงมา คือ ระดับประถมศึกษา (6-11 ปี) ร้อยละ 101.67

                       ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (12-14 ปี) ร้อยละ 92.50 และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ
                       เทียบเท่า (15-17 ปี) ร้อยละ 72.62 ตามลำดับ
                              4.1.4 ข้อมูลด้านความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษา

                                  4.1.4.1 การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษา
                       ปี 2562 และ ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ปี 2561 ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการ
                       ภาค 5
                                  ผลการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษา ปี 2562

                       และ ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ปี 2561 ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 พบว่า
                       สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 มีการผลิตกำลังคนในปี 2561 มากกว่า ความต้องการของตลาดแรงงาน
                       ปี 2562 จำนวน 17,978 คน และเมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า ทุกจังหวัดในพื้นที่สำนักงาน
                       ศึกษาธิการภาค 5 มีการผลิตกำลังคนมากกว่าความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งจังหวัดสงขลา

                       มีการผลิตกำลังคนมากกว่าความต้องการมากที่สุด คือ 8,341 คน รองลงมา คือ
                       จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7,077 คน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 2,193 คน จังหวัดชุมพร
                       จำนวน 223 คน และ จังหวัดพัทลุง จำนวน 144 คน
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82