Page 79 - สารสารสนเทศทางการศึกษาปี 2562
P. 79

65






                                  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาเพิ่มขึ้นในปี 2559 และลดลง
                                                      ี่
                       ในปี 2560 และกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2561 และเมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า ทุกจังหวัด
                       มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาเพิ่มขึ้นในปี 2561 แต่เมื่อพิจารณารายวิชา พบว่า วิชาภาษาไทย
                       มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 – 2561 สำหรับวิชาคณิตศาสตร์และ

                       วิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2559 และ 2560 แต่กลับเพิ่มขึ้น
                       อีกครั้งในปี 2561 แต่สำหรับวิชาภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2560
                       และ 2561  ซึ่งงานวิจัยของ เอื้อมพร หลินเจริญ สิริศักดิ์ อาจวิชัย ภีรภา จันทร์อินทร์ (2552)
                       ได้ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนต่ำ พบว่า

                       1) ปัจจัยด้านผู้เรียน ได้แก่ ความไม่ตระหนักเห็นความสำคัญของการสอบ ระดับความรู้พื้นฐานของ
                       นักเรียน  สภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่แตกแยก ส่งผลให้นักเรียนเครียดกังวล และเรียนได้ไม่ดี และ
                       สภาพแวดล้อมโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก ก็มีสภาพความพร้อมด้านต่าง ๆ น้อยกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่
                       2) ปัจจัยด้านครูผู้สอน เช่น ภาระงานที่หนัก คุณวุฒิไม่ตรงการสอน ครูไม่เพียงพอ เป็นต้น

                       3) ปัจจัยเกี่ยวกับผู้บริหาร ที่ไม่มีแผนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์คะแนน O-NET โดยตรง และ
                       4) ปัจจัยเกี่ยวกับข้อสอบ ที่พบว่า วิชาภาษาอังกฤษและวิชาคณิตศาสตร์มีระดับความยากมากที่สุด
                       และช่วงเวลาในการสอบและการแจ้งผลการสอบที่ล่าช้า ทำให้ไม่สามารถนำผลไปสู่การพัฒนา

                       ได้ทันท่วงที
                                   ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกวิชาเพิ่มขึ้นในปี 2559 และ
                                                    ี
                       ลดลงในปี 2560 และกลับเพิ่มขึ้นอกครั้งในปี 2561 และเมื่อพิจารณารายวิชา พบว่า วิชาภาษาไทย
                       มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เพิ่มขึ้นในปี 2559 แต่กลับลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2560 และ 2561
                       ในขณะที่วิชาภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ วิชาคณิตศาสตร์และ

                       วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เพิ่มขึ้นในปี 2561 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา
                       ที่ผ่านมาวิชาภาษาไทยเป็นวิชาเดียวที่ถึงครึ่ง แต่ในการสอบครั้งนี้คะแนนวิชาภาษาไทยลดลงเล็กน้อย
                                  4.2.2.2  ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-net)

                                  จากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผล V-NET ระหว่างปีการศึกษา 2558 – 2561
                       ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ
                       เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 และ 2561 ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก นโยบายด้านการศึกษา
                       ของประเทศและกระทรวงศึกษาธิการเน้นการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนา

                       ใน ทุกองค์ประกอบ เช่น การสนับสนุนสถานศึกษาให้ผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพตามบริบท
                       แต่ละพื้นที่ พัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีทักษะ ความรู้ความชำนาญในทางปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
                       ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ  พัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาให้มีการบริหารจัดการ
                       อย่างมีคุณภาพ เป็นต้น

                                  4.2.2.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน
                       (N-NET)
                                  จากผลการวิเคราะห์ N-NET ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2562 พบว่า ระดับ
                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีค่าเฉลี่ยร้อยละลดลงอย่างต่อเนื่อง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเฉลี่ย

                       ร้อยละเพิ่มขึ้นในปี 2561 ครั้งที่ 2 แต่ลดลงในปี 2562 ครั้งที่ 1 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษา
                       ตอนปลาย มีค่าเฉลี่ยร้อยละลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 และ 2562 จะเห็นได้ว่า ทุกระดับชั้น
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84