Page 82 - สารสารสนเทศทางการศึกษาปี 2562
P. 82

68






                              4.2.4 ข้อมูลด้านความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษา
                                  จากผลการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษา
                       ปี 2562 และ ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ปี 2561 ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการ
                       ภาค 5 พบว่า มีการผลิตกำลังคนในปี 2561 มากกว่า ความต้องการของตลาดแรงงาน ปี 2562

                       จำนวน 17,978 คน และ ผู้ประกอบการมีความต้องการผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร ปวช.
                       สาขาการตลาดมากที่สุด รองลงมา คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่างยนต์ การโรงแรม และ
                       อิเล็กทรอนิกส์  ในขณะที่สถานศึกษาสามารถผลิตกำลังคนในสาขาช่างยนต์มากที่สุด รองลงมา คือ
                       การบัญชี ช่างไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การโรงแรมและบริการ และหลักสูตร ปวส. ผู้ประกอบการ

                       มีความต้องการผู้สำเร็จการศึกษาสาขาช่างยนต์มากที่สุด รองลงมา คือ ช่างไฟฟ้ากำลัง เทคโนโลยี
                       สารสนเทศ การบัญชี และ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในขณะที่สถานศึกษาสามารถผลิตกำลังคนใน
                       สาขาการบัญชีมากที่สุด รองลงมา คือ ช่างยนต์  ช่างไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการโรงแรมและ
                       บริการ

                                  จะเห็นได้ว่า การผลิตกำลังคนและความต้องการกำลังของสถานประกอบการยังไม่
                       สอดคล้องกันทั้งด้านปริมาณและสาขาวิชา ทั้งนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนเลือกเรียน
                       ในสาขาที่ไม่ต้องความต้องกัน เช่น การเคลื่อนย้ายแรงงานไปยังจังหวัดอื่นที่รองรับสาขาที่เรียน

                       ค่านิยมของผู้ปกครอง การมีงานทำเป็นต้น นอกจากนี้ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
                       ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลัง การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถ
                       ในการแข่งขันของประเทศ ในเป้าหมาย 2.1 กำหนดไว้ว่า กำลังคนที่มีทักษะสำคัญจำเป็นและ
                       มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
                       ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาและ

                       หาแนวทางการเพมสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาพร้อมพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องความต้องการของ
                                      ิ่
                       ตลาดแรงงานและตามทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป


                       4.3 ข้อเสนอแนะ
                           4.3.1 ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานระดับภาคและจังหวัด
                                  - นำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในด้านต่าง ๆ (O-NET N-NET V-NET
                       I-NET และ B-NET) ไปศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                       พร้อมขับเคลื่อนให้สถานศึกษาได้นำไปพัฒนาได้จริง
                                  - สร้างความตระหนักให้สถานศึกษาเห็นความสำคัญของการทดสอบทางการศึกษา
                       ระดับชาติ  พร้อมกำหนดเป็นนโยบายสำคัญของสถานศึกษา
                                  - ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษาและ

                       เข้ารับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพื่อผลักดันให้จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเป็นไปตามเป้าหมายของ
                       แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (แผน 20 ปี)
                                  - มีมาตรการตรวจสอบและติดตามเด็กทุกคนในพื้นที่ให้ได้รับการศึกษา
                       ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด (อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3) และหากพบว่า

                       ดำเนินการไม่ได้ครบถ้วน (ร้อยละ 100) ควรรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไข
                       ร่วมกัน
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87