Page 12 - บทที่6-60
P. 12

จะเห็นว่าโรคของเส้นประสาทบางชนิดสามารถให้ลักษณะทางพยาธิสภาพได้ทั้งส่วนของ axon และ

               myelin โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในเวชปฏิบัติ ขณะเดียวกันผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ

               ของเส้นประสาทชนิดใดชนิดหนึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปก็อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของอีกส่วนของพยาธิ

               สภาพตามมาได้เสมอ เช่น เมื่อแรกเริ่มมี demyelination ก็จะตามมาด้วย secondary axonopathy หรือ เมื่อ

               เริ่มมี axonopathy ก็จะตามมาด้วย secondary demyelination เป็นต้น


               ชนิดของโรคเส้นประสาทส่วนปลาย

                     โรคของเส้นประสาทสามารถแบ่งตามการกระจายของโรคได้ดังนี้


                   1.  แบบเฉพาะที่ (focal neuropathy)


                          ผู้ป่วยจะมีอาการชาหรืออ่อนแรงของมือหรือขาข้างใดข้างหนึ่งตามการกระจายของ

                   เส้นประสาทที่มีรอยโรคนั้นๆ ในบางรายอาจมีอาการปวดในต าแหน่งของเส้นประสาทที่มีรอยโรค

                   สาเหตุเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (entrapment neuropathy) ภยันตรายต่อเส้นประสาท (nerve

                   injury) การขาดเลือดของเส้นประสาท (ischemic neuropathy) เป็นต้น การวินิจฉัยว่ารอยโรคอยู่ที่

                   เส้นประสาทเส้นใดต้องอาศัยความรู้ทางประสาทกายวิภาคเพื่อท าการตรวจว่าสามารถเข้าได้กับรอย

                   โรคของเส้นประสาทเส้นใด โดยเฉพาะการตรวจด้วย Focal positive sign โดยการเคาะในต าแหน่งที่

                   เส้นประสาทถูกกดทับ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเสียวไปตามแนวของเส้นประสาทนั้นๆ เป็นการตรวจเพื่อ

                   ช่วยยืนยันการวินิจฉัย entrapment neuropathy ได้ดี

                          Entrapment neuropathy หมายถึงลักษณะความผิดปกติทางกายวิภาคที่มีการตีบแคบของ

                   ช่องทางที่เส้นประสาทผ่าน ปัจจัยที่ท าให้เกิด entrapment neuropathy ได้แก่ การเกิดพยาธิสภาพ

                   ซ้ าซ้อนของเส้นประสาทและเนื้อเยื่อรอบๆ และมักพบสัมพันธ์กับอาชีพของผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมีโรค

                   ทางระบบของร่างกายอื่นๆ เช่นโรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์ต่ า หรือโรคทางพันธุกรรมบางชนิด ผู้ป่วยที่

                   มีการเปลี่ยนแปลงของน้ าหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว เช่น หญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจมีโอกาสเกิด

                   entrapment neuropathy ได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเพื่อบอกต าแหน่งและความ

                   รุนแรงของโรค การรักษาขึ้นอยู่กับต าแหน่งและความรุนแรงของโรค ได้แก่ การลดปัจจัยเสี่ยงของการ

                   กดทับ การรักษาด้วยการกายภาพบ าบัด การพักการใช้งาน ตลอดจนการผ่าตัดเพื่อคลายพังผืดที่กด

                   รัดเส้นประสาท เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีการ entrapment neuropathy ที่พบบ่อยทางคลินิกได้แก่ Carpal







                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17