Page 58 - Report_Edit_v7
P. 58
บทที่ 4 ภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และการประมาณมูลค่า
ตลาดในระดับโลกและภูมิภาค
ดิจิทัลคอนเทนต์ หมายถึง ข้อมูลหรือไฟล์ที่ถูกเก็บในรูปแบบดิจิทัล โดยสามารถมีหลากหลายรูปแบบ
ตั้งแต่ข้อความ เสียงเพลง ภาพเคลื่อนไหว รูป แอนิเมชัน เกม รูปภาพ ซึ่งการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์สามารถ
ท าได้โดยการใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างสรรค์ ผลิต และเผยแพร่
เมื่อพิจารณาแนวโน้มของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ในระดับโลกทางด้านกลุ่มผู้ผลิต พบว่า
ทวีปอเมริกาเหนือถือครองสัดส่วนที่มากที่สุดของอุตสาหกรรมการผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ โดยอัตราการเติบโต
ของการผลิตสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ในทวีปอเมริกาเหนือส่งผลมาจากการแผ่ขยาย และการน ามาใช้ของเครื่องมือ
ต่าง ๆ ในการผลิตสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ รวมถึงการใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ในอุตสาหกรรมหลากหลายแขนงทั่วทวีป
การผลิตสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ในทวีปเอเชียแปสิฟิกคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในประเทศ จีน เกาหลี อินเดีย และญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ผลิต นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิต
ดิจิทัลคอนเทนต์ในทวีปอเมริกาใต้และ ตะวันออกกลางและแอฟริกาก็มีแนวโน้มในการเติบโตเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกัน โดยเป็นผลจากความตระหนักที่เพิ่มขึ้น และการใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ที่เพิ่มขึ้น ท าให้เพิ่มโอกาส
ให้แก่ผู้ผลิตสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ในการเข้าถึงตลาดโลก
4.1 แนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์
อ้างอิงจากรายงาน “Global Digital Content Market 2019-2023” จากบริษัท Technavio
คาดการณ์ว่ามูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ระดับโลกจะมีมูลค่ารวม 282.3 พันล้านบาทระหว่างปี 2018
– 2023 และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ ร้อยละ 10 (CAGR) โดยสื่อออนไลน์เป็น
ตัวขับเคลื่อนการท าตลาดของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ เช่น การใช้สื่อออนไลน์ หรือแพลทฟอร์มออนไลน์
เพื่อท าตลาดให้กับภาพยนตร์ใหม่ ๆ หรือเพื่อโอกาสในการเพิ่มกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยทวีปเอเชียแปซิฟิค
มีโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์สูง โดยจะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 41 ของอัตราการเติบโต
ของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ในระดับโลก นอกจากนี้ ปัจจัยที่จะส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ
อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์คือแนวโน้มของผู้บริโภค ในการจับจ่ายหรือการบริโภคดิจิทัลคอนเทนต์
ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งในรูปแบบการรับชมในโรงภาพยนตร์และสื่อบันเทิงในบ้าน ซึ่งถูกขับเคลื่อน
โดยแนวโน้มของการรับชมสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ผ่านช่องทาง อินเตอร์เน็ต (internet streaming) ท าให้มีอัตรา
การเติบโตในการรับชมภาพยนตร์ผ่านช่องทางการ Stream ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเข้า
58