Page 187 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 187
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
ประหยัดต้นทุนและสร้างโอกาสในการต่อยอดร่วมกัน ในงานวิจัยนี้จึงได้เลือกระบบโครงข่ายโลจีสติกส์และการ
รวมกลุ่มของอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาหาที่ตั้งที่ที่เหมาะสมเพื่อการแข่งขันที่ดีที่สุดของกลุ่ม
อุตสาหกรรม
4.2) The development and regional significance of the automotive
industry: supplier parks in western Europe (Larsson, A. [2002]. The development and regional
significance of the automotive industry: supplier parks in western Europe. International Journal of
Urban and Regional Research, 26(4), 767-784. doi:10.1111/1468-2427.00417)
บทความนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างซัพพลายเออร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การเพิ่มระดับการจ้างและการผลิตแบบแยกส่วนรวมกับการ
จัดส่งมอบเพียงครั้งเดียวได้เพิ่มความต้องการในการประสานงานด้านโลจิสติกส์ของกระบวนการผลิตมากขึ้น
บทความนี้กล่าวถึงการใช้ส่วนของผู้จัดจ าหน่ายในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะส่วนของผู้จัดจ าหน่าย 5 แห่ง
ที่ตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน เยอรมนี และสเปน ข้อสังเกตประการหนึ่งคือต าแหน่งที่ตั้งโรงงานที่ใกล้ชิดกันจะมีความ
เชื่อมโยงกันมาก โดยเฉพาะกรณีการส่งมอบแบบซิงโครนัสเพียงครั้งเดียว ท าให้เกิดการผลักดันให้ บริษัท ซัพพลาย
เออร์ เลือกที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรมของผู้จัดจ าหน่าย เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดกันและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรับ
และส่งผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนต่างๆ กรณีนี้ยังแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงที่จ ากัดมากต่อเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาค
โดยบริษัทส่วนใหญ่มีหน้าที่เพียงอย่างเดียวในไลน์การผลิตและจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งมอบสินค้าที่เชื่อถือได้ต่อๆ
กัน ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน จะพบว่าภาครัฐจะมีการลงทุนใน
โครงสร้างพื้นฐานให้อยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้มีหน้าที่ในการผลิตเพื่อสนับสนุนผู้ผลิต
รถยนต์ในภูมิภาคทั้งหมด
จากบทความข้างต้น ด้วยความส าคัญของปัจจัยด้านที่ตั้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้
พิจารณาเลือก ระบบโลจิสติกส์ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยในการ
พิจารณาเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมส าหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมน าร่องเพื่อการแข่งขันต่อไป
4.3) การด าเนินงานวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย (สถาบัน
ยานยนต์. [2553]. การด าเนินงานวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย.)
แนวโน้มการวิจัยพัฒนายานยนต์ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกนั้น Mr. Eiichi Omura,
Chief of Technical Center และ Executive Vice President บริษัท โตโยตา มอเตอรเอเชียแปซิฟก เอ็นจิ
เนียริ่ง จ ากัด ไดบรรยายพิเศษเรื่อง “Toyota’s Activities for Realizing Sustainable Mobility” ในงานสัมมนา
การประชุมระดมความคิดโครงการจัดท าแผนที่น าทางการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน อุตสาหกรรมยานยนต์ในวันที่ 25
มกราคม 2553 ซึ่ง Mr. Omura ไดบรรยายถึงแนวโนม และทิศทางการวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไว
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 5 - 18