Page 137 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 137
๑. การเสียดินแดนในเขมรหรือเขมรส่วนนอก พ.ศ. ๒๔๑๐ (ร.ศ. ๘๖)
ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๖ แคว้นเขมรยินยอมท�าสัญญาลับ
ยอมอยู่ภายใต้อ�านาจประเทศฝรั่งเศส โดยขณะนั้นเขมรเป็นประเทศราชของไทย
วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ ไทยจึงยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศสรับรอง
อย่างเป็นทางการว่าเขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส โดยไทยจะไม่เรียกร้องให้
เขมรส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่ไทยดังแต่ก่อน ส่วนดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ
(เขมรส่วนใน) ยังอยู่ภายใต้การปกครองของไทยตามเดิม
3
๒. การเสียดินแดนตะนาวศรีบนฝั่งทะเลอันดามัน พ.ศ. ๒๔๑๑ (ร.ศ. ๘๗)
ภายหลังอังกฤษเข้ายึดครองประเทศพม่าและมลายูได้แล้ว ประสงค์
จะต่อเชื่อมแผ่นดินถึงกัน จึงหันมาทางประเทศไทย และใช้วิธีบังคับให้ท�าแผนที่ 4
แบ่งปันเขตแดนติดต่อกับด้านตะวันตกของประเทศไทยในช่วงเวลา พ.ศ. ๒๔๐๘ -
๒๔๑๐ ท�าให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนตะนาวศรีฝั่งทะเลอันดามัน ตามอนุสัญญา
ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๔๑๑ และท�าสัตยาบันรับรองแผนที่ “The Map of
Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam”
ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
๓. การเสียแคว้นสิบสองเจ้าไทย พ.ศ. ๒๔๓๑ (ร.ศ. ๑๐๗) 5
ฝรั่งเศสขอท�าสนธิสัญญากับไทย เพื่อตั้งสถานกงสุลที่หลวงพระบาง 6
พ.ศ. ๒๔๓๑ การเข้าปล้นเขตแดนของพวกฮ่อ บริเวณหลวงพระบาง เป็นข้ออ้าง 2 1
ของฝรั่งเศสในการยึดแคว้นสิบสองเจ้าไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหก
๔. การเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น�้าโขง พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒)
วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เป็นการสูญเสียดินแดนครั้งส�าคัญและมากที่สุด
ของไทย บริเวณฝั่งซ้ายแม่น�้าโขง (อาณาจักรลาวเกือบทั้งหมด) ให้กับฝรั่งเศส โดย
ฝรั่งเศสอ้างการยึดครองดินแดนครั้งนี้ว่า ฝรั่งเศสได้มีอ�านาจเหนือญวนและเขมรแล้ว
บริเวณฝั่งซ้ายแม่น�้าโขงซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของญวนและเขมรมาก่อน จึงต้องตกเป็น
ของฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน
7
๕. การเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น�้าโขง พ.ศ. ๒๔๔๖ (ร.ศ. ๑๒๒)
ผลต่อเนื่องจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ท�าให้ฝรั่งเศสยึดดินแดนจันทบุรี
เป็นประกันไว้ถึง ๑๐ ปี ภายหลังไทยยอมแลกเปลี่ยนดินแดนโดยยกเมืองมโนไพร
และจ�าปาศักดิ์ และดินแดนฝั่งขวาของแม่น�้าโขง ให้ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ ฝรั่งเศสจึงยอม
ถอนทหารออกจันทบุรี แต่กลับยึดเมืองตราดไว้แทน
๖. การเสียดินแดนมณฑลบูรพา พ.ศ. ๒๔๔๙ (ร.ศ. ๑๒๕)
ไทยยอมท�าสัญญายกมณฑลบูรพา ซึ่งประกอบด้วยเมืองพระตะบอง การเสียดินแดนประเทศไทยยุคจักรวรรดินิยมตะวันตก
เสียมราฐ ศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนกับจังหวัดตราดและเกาะต่าง ๆ ๑. การเสียดินแดนในเขมรหรือเขมรส่วนนอก พ.ศ. ๒๔๑๐ (ร.ศ. ๘๖)
ที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ ลงไปจนถึงเกาะกูดที่ฝรั่งเศสยึดไว้ ลงนามในสัญญานี้ เมื่อวันที่ ๒. การเสียดินแดนตะนาวศรีบนฝั่งทะเลอันดามัน พ.ศ. ๒๔๑๑ (ร.ศ. ๘๗)
๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ๓. การเสียแคว้นสิบสองเจ้าไทย พ.ศ. ๒๔๓๑ (ร.ศ. ๑๐๗)
๔. การเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น�้าโขง พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒)
๗. การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๑ ๕. การเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น�้าโขง พ.ศ. ๒๔๔๖ (ร.ศ. ๑๒๒)
(ร.ศ. ๑๒๘) ๖. การเสียดินแดนมณฑลบูรพา พ.ศ. ๒๔๔๙ (ร.ศ. ๑๒๕)
ไทยท�าสนธิสัญญากับอังกฤษ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ โดย ๗. การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๑
ยกดินแดนรัฐมลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส รวมทั้งเกาะใกล้เคียง (ร.ศ. ๑๒๘)
ให้อังกฤษ เพื่อแลกกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในประเทศไทย การขอ
กู้เงินสร้างทางรถไฟสายใต้ และยกเลิกอนุสัญญาลับปี พ.ศ. ๒๔๔๐
l 123 123