Page 239 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 239
15 ํ 08’ N
100 ํ 28’ E
คูเมืองจันเสน
เมืองจันเสน...เทพนม...พรหมทิน
กลุ่มเมืองบนฝั่งตะวันออกชะวากทะเลเดิม “ลุ่มจันเสน”
“บ้านจันเสน” “บ้านเทพนม” และ “บ้านพรหมทิน” เป็นที่ตั้งกลุ่มก�าแพงเมือง-คูเมือง
โบราณ พบเมืองจันเสนเป็นแห่งแรกในรูปถ่ายทางอากาศโดย นิจ หิญชีระนันทน์ ส�านักผังเมือง
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ส่งผลให้มีการขุดส�ารวจทางโบราณคดีของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดย
เบนเนท บรอนสัน พบหลักฐานแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานและเป็นบ้านเมืองสมัยต้นพุทธกาล
จากรูปถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นเป็นกลุ่มเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของชายฝั่ง
ชะวากทะเลเดิม “ลุ่มจันเสน” ในบริเวณที่ราบส่วนปลายของเนินตะกอนรูปพัดตากฟ้า มีร่องรอย
แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของการตั้งถิ่นฐานสัมพันธ์กับการถอยร่นของ
ชายฝั่งชะวากทะเลเดิมลุ่มน�้าจันเสนและไกลห่างออกไปตามช่วงเวลาจนถึงชายฝั่งทะเลปัจจุบัน
เป็นหลักฐานช่วยให้เข้าใจถึงพัฒนาการของเมืองลพบุรีที่เริ่มต้นในครั้งนั้น และเจริญเป็น
นคร “ละโว้” เมืองส�าคัญในลุ่มน�้าเจ้าพระยาในช่วงเวลาที่อ�านาจจากเมืองพระนครครอบคลุมถึง
และยังคงสภาพเป็นเมืองส�าคัญในสมัยพระนครศรีอยุธยาที่สร้างขึ้นใหม่ ณ บริเวณหนองโสน
ด้านตะวันตกของที่ตัั้งเมืองอโยธยาบนแม่น�้าป่าสัก-แม่น�้าลพบุรี ตรงส่วนของเดลต้าสระบุรี
N
เมืองจันเสนตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบส่วนปลายด้านทิศเหนือของเนินตะกอนรูปพัดตากฟ้า
พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานคลุมพื้นที่ประมาณ ๔ ตารางกิโลเมตร มีคูขุดลึกถึงระดับกักเก็บน�้า
500 m. เป็นเครือข่ายลักษณะเมืองคูคลอง และมีก�าแพงเมือง-คูเมืองล้อมรอบรูปแบบเกือบกลม
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘๐๐ - ๙๐๐ เมตร มีคลองย่อยแยกไปตามแนวคลองต่างๆ เป็น
เมืองพรหมทิน 15 ํ 00’ N เครือข่ายการคมนาคมที่ติดต่อถึงกันได้ทั่วทั้งเมือง ด้านทิศใต้มีคลองขุดเชื่อมต่อกับคูเมือง
อ�าเภอโคกส�าโรง จังหวัดลพบุรี 100 ํ 37’ E และ “คลองพญาพายเรือ” ขุดขึ้นภายหลังแนวชายฝั่งชะวากทะเลได้ถอยร่นออกห่างจากที่ตั้ง
เมืองจันเสน หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การตั้งถิ่นฐานบริเวณ
เมืองจันเสน เริ่มต้นเมื่อประมาณ ๒,๗๐๐ ปีที่แล้ว และเจริญรุ่งเรืองจนถึงสมัยทวารวดี
ตอนปลาย และลดความส�าคัญลงเมื่อแนวชายฝั่งทะเลถอยห่างออกไป
สภาพแวดล้อมการตั้งถิ่นฐานบริเวณ “ลุ่มจันเสน” ตามที่พบหลักฐานก�าแพงเมือง-คูเมือง
และลักษณะเมืองคูคลองให้ศึกษาได้จากรูปถ่ายทางอากาศมีหลายเมือง และเป็นที่สนใจของ
นักวิชาการเพื่อถอดรหัสความเป็นเมืองทวารวดี-ฟูนันแห่งลุ่มน�้าเจ้าพระยา
ansen…Thep Phanom…Phromthin: The city clusters
on the former estuary “Lum Jansen”
2
It was found that Jansen’s settlement covered an area of 4 km .
The city had a canal network with deep moats to retain water. The city walls and
moats were constructed in a circular shape with a diameter of about
800 - 900 meters. There were sub-canals dug from the main canals connected
to each other across the city. In the south, there was a canal connecting to the city
N moats and the “Phya Pai Rua” canal, which was dredged after the estuary coasts had
retreated far from Muang Jansen. The historical and archeological evidence showed
that the settlement in the areas of Muang Jansen started about 2,700 years ago,
14 ํ 59’ N 200 m. and it had been prosperous until the late Dvaravati Period before becoming less
100 ํ 36’ E © GISTDA_2009 important due to the retreat of the coastline.
l 225 225