Page 257 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 257

ที่ราบสูงโคราช...
                ภูกระดึง จังหวัดเลย (1)                     17 ํ 04’ N
                                                           101 ํ 56’ E  การยกตัวของแผ่นดิน




                                                                           “ที่ราบสูงโคราช”  หรือ  “อีสาน”  เรียกตามสภาพภูมิประเทศและที่ตั้งของแผ่นดิน
                                                                      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย  มีลักษณะทางธรณีวิทยาเกิดจากการยกตัวของ
                                                                      ชั้นหินทรายมหายุคมีโซโซอิคที่มีชั้นเกลือหินซ้อนทับเป็นชั้นหนา เกิดเป็นแอ่งที่ราบสูงจาก
                                                                      ระดับทะเลปานกลางมากกว่า ๑๒๐ เมตร โอบล้อมด้วยทิวเขาสูงแยกตัวออกจากที่ราบลุ่ม
                                                                      ต่อเนื่องถึงชายฝั่งทะเลที่ราบลุ่มเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก ต่อเนื่องตลอดแนวด้านทิศใต้
                                                                      ถึงที่ราบลุ่มโตนเลสาบในประเทศกัมพููชา  และโอบล้อมด้วยแม่น�้าโขงทางทิศเหนือและ
                                                            N         ตะวันออกที่กัดลึกลงตลอดเวลาการยกตัวสูงขึ้นของแผ่นดินอีสาน  ท�าหน้าที่แบ่งขอบเขต

                                                                      ภูมิประเทศและเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทย-ลาว
                 16 ํ 44’ N                                                เทือกเขาภูพานทอดยาวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้พาดผ่านแอ่ง
                 100 ํ 33’ E                               5 km.
                                                                      ที่ราบสูงโคราชซึ่งรองรับด้วยชั้นหินเกลือหนา แบ่งแอ่งที่ราบออกจากกันเป็น ๒ ส่วนเรียกว่า

                 ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (2)                 16 ํ 52’ N  “แอ่งโคราช” และ “แอ่งสกลนคร” ในขอบเขตประเทศไทย และเกิดแอ่งที่ ๓ “แอ่งสุวรรณเขต”
                                                           102 ํ 27’ E  ในประเทศลาว ที่ราบแต่ละแห่งมีชั้นหินทรายยกสูงเป็นขอบเขต ภายในแอ่งมีทางน�้าไหลผ่าน
                                                                      ระบายลงสู่แม่น�้าโขงไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ในประเทศเวียดนาม ภายในแอ่งที่ราบได้รับอิทธิพล
                                                                      จากเกลือท�าให้เกิดดินและน�้าเค็ม และเกิดภูมิประเทศหลุมและแอ่งยุบเกิดจากการละลาย

                                                                      ของชั้นเกลือใต้ดิน  รวมทั้งภูมิประเทศโดมเกลือ  เป็นปัจจัยส�าคัญในการตั้งถิ่นฐานและ
                                                                      พัฒนาการเฉพาะถิ่นที่เรียกว่า  “วัฒนธรรมเกลือ”  พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เห็นได้
                                                                      ในภาพจากดาวเทียมทั่วบริเวณและหนาแน่นโดยเฉพาะในแอ่งที่ราบโคราช  มีแม่น�้ามูล-ชี
                                                                      ไหลผ่าน
                                                                           ภาพจ�าลองความสูง (DEM) แสดงให้เห็นแอ่งที่ราบในที่ราบสูง “โคราช” มีทิวเขา
                                                                      เพชรบูรณ์ปิดกั้นจากที่ราบเจ้าพระยาทางตะวันตก  และทางทิศใต้  ต่อเนื่องด้วยทิวเขา
                                                            N
                                                                      พนมดงรักที่ยกตัวสูงขึ้นตามแนวออก-ตกจากที่ราบทางทิศใต้จนถึงลุ่มน�้าโตนเลสาบ

                 16 ํ 31’ N                                           ในประเทศกัมพูชา และตามแนวเหนือ-ใต้จนถึงแม่น�้าโขงที่ “สบมูล”
                 102 ํ 02’ E                               6 km.           ภาพจ�าลองความสูงขยายขนาดภูมิประเทศในพื้นที่ภูเขาด้านตะวันตก  ได้แก่

                                                                      ภูกระดึง (1) ภูเวียง (2) และในแอ่งที่ราบมีภูเขาไฟพนมรุ้ง (3) แสดงไว้ในภาพดาวเทียม
                 ภูเขาไฟพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ (3)        14 ํ 34’ N
                                                           102 ํ 59’ E  “ปราสาทพนมรุ้ง” สร้างบนยอดขอบปากปล่องภูเขาไฟและมีน�้ากักเก็บในปากปล่อง เชิงเขา
                                                                      ด้านตะวันออกมีบารายกักเก็บน�้าจากร่องเขา  เป็นภูมิปัญญาในอดีตที่ส่งทอดถึงปัจจุบัน
                                                                      เห็นได้จากอ่างเก็บน�้าเป็นแนวยาวที่เชิงเขาด้านตะวันตกซึ่งสร้างขึ้นภายหลัง











                                                            N



                                                           1 km.                                                   he Korat Plateau...
                 14 ํ 30’ N
                 102 ํ 53’ E                          © GISTDA_2013                                                The uplift of land

                                         The “Korat Plateau” or “Isan” was named for the topography and location of northeast region. It was caused by the
                    uplift of sandstone layers in the Mesozoic era, resulting in a saucer-shaped plateau, with the height of over 120 meters above mean sea level,
                                                        and surrounded by high mountain ranges as well as the Mekong River in the north and the east.
                       The Phu Phan mountain range lies from the northwest to the southeast; thus dividing the plateau. It is supported with rock salt layers into
                     two parts including the Korat and the Sakon Nakhon basins. The third basin is in Laos and is called “Savannakhet basin”. Each basin has its
                       watercourse draining into the Mekong River. Because of the presence of salt, the water and soil in the basin became salty. This led to the
                 occurrence of holes and the collapse of the basin, resulting from the melting of underground salt layers as well as the occurrence of a salt dome
                geographical shape, an important factor for settlement and development of a particular area called “salt culture”. According to the satellite images,
                                     evidence of populated settlement areas was found in the Korat plateau basin where the Mun-and Chi Rivers ran through.




                                                                                                                               l  243  243
   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262