Page 170 - JCI 7th edition - BPK9 hospital
P. 170

มาตรฐานการรับรอง JCI สำหรับโรงพยาบาล ฉบับที่ 7                                               170


            องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.1
                ❏ 1.ผู้นำหน่วยงาน / บริการของโรงพยาบาลร่วมกันให้การดูแลที่เป็นกระบวนการรูปแบบเดียวกัน

                ❏ 2.ข้อกำหนดของการดูแลที่เป็นรูปแบบเดียวกันสะท้อนการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับระดับ

                    ท้องถิ่นและภูมิภาค
                ❏ 3.การดูแลที่เป็นรูปแบบเดียวกันเป็นไปตาม ข้อ a) ถึง ข้อ e) ในเจตจำนง

               ___________________________________________________________________________
                           รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล


            มาตรฐาน COP.2

                                     ใช้อบรมภายใน
            มีกระบวนการที่บูรณาการและประสานการดูแลที่ให้กับผู้ป่วยแต่ละรายและจะรวมถึงกระบวนการที่เป็นแบบแผน
            เดียวกันสำหรับการสั่งคำสั่งของผู้ป่วย




            เจตจำนงของ COP.2
            กระบวนการดูแลผู้ป่วยเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  และมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพ

            ด้านการดูแลสุขภาพจำนวนมากในหลาย  ๆ  พื้นที่และหน่วยงาน  และหลาย  ๆ  การบริการ  การบูรณาการและการ
                                                           ห้ามจำหน่าย
            ประสานงานในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างมีเป้าหมายเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพของกระบวนการดูแล  การใช้

            ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น  ๆอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  มีความเป็นไปได้ที่ผลการรักษาผู้ป่วยจะดีขึ้น  ด้วย

            เหตุนี้จึงทำให้ผู้นำหน่วยงาน  /  การบริการใช้เครื่องมือและวิธีการบูรณาการและประสานงานที่ดีขึ้นในการดูแลผู้ป่วย
            (ตัวอย่างเช่น  ทีมผู้ให้การดูแล  การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในหลายๆ  หน่วยงาน  การประสมประสานรูปแบบแผนการดูแล

            ร่วมกัน การบูรณาการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย ผู้จัดการการดูแลผู้ป่วย) (ดู ACC.3 และ AOP.4 ร่วมด้วย)



            เวชระเบียนของผู้ป่วยสนับสนุนและสะท้อนการบูรณาการ  และการประสานงานในการดูแล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน

            แต่ละข้อสังเกตและการรักษาของผู้ปฏิบัติงานที่บันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย  หลายกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็น

            ต้องมีบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะสั่งคำสั่งสำหรับกิจกรรมที่จะต้องได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย  กิจกรรมดัง
            กล่าวอาจรวมถึง ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งสำหรับการทดสอบทางห้องปฏิบัติการการ บริหารยา การดูแลรักษาพยาบาล

            เฉพาะ โภชนาบำบัด การบำบัดฟื้นฟูและลักษณะคล้ายๆ กันนี้ (ดู MOI.9 ร่วมด้วย)



            กิจกรรมการดูแล  ผู้ป่วยที่ต้องใช้คำสั่งจะได้รับคำสั่งจากบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะทำเช่นนั้นได้  (ดู  ACC.3.1  ร่วมด้วย)

            คำสั่งดังกล่าวจะต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย  ถ้าคำสั่งเหล่านั้นจะต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม  ตำแหน่งคำสั่งบน
            แผ่นทั่วไปหรือในตำแหน่งที่เป็นแบบเดียวกัน ในเวชระเบียนของผู้ป่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของคำสั่ง

            คำสั่งที่ได้รับการบันทึกช่วยให้บุคลากรเข้าใจรายละเอียดของคำสั่งที่จำเพาะเจาะจง  เวลาที่จะต้องดำเนินการตามคำ
            สั่งและผู้ที่ดำเนินการออกคำสั่ง (ดู MMU.4.2 ร่วมด้วย) คำสั่งสามารถเขียนลงบนแผ่นคำสั่งเพื่อที่จะถูกโอนไปยังเวช

            ระเบียนของผู้ป่วยเป็นระยะๆ หรือเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลหรือระบบการสั่งทางคอมพิวเตอร์อาจจะใช้ในโรง

            พยาบาลที่มีการใช้เวชระเบียนผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175