Page 171 - JCI 7th edition - BPK9 hospital
P. 171

มาตรฐานการรับรอง JCI สำหรับโรงพยาบาล ฉบับที่ 7                                               171


            แต่ละโรงพยาบาลกำหนดเองว่า
               • คำสั่งชนิดใดจะต้องเขียน / บันทึกและไม่ใช้คำสั่งทางโทรศัพท์ ทางวาจาหรือการส่งข้อความ (ถ้าอนุญาตให้ใช้

                   คำสั่งทางวาจ  ทางโทรศัพท์  หรือส่งข้อความ)  ยกตัวอย่างเช่น  คำสั่งทางโทรศัพท์อาจจะจำกัดให้ใช้ใน

                   สถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อแพทย์ไม่ปรากฎอยู่  คำสั่งด้วยวาจาอาจจะจำกัดให้ใช้ในสถานการณ์ที่แพทย์ผู้สั่งทำ
                   หัตถการที่ปราศจากเชื้อและคำสั่งที่ส่งข้อความอาจจะจำกัดเฉพาะการตรวจวินิจฉัยเท่านั้น

               • คำสั่งตรวจภาพเพื่อการวินิจฉัยทางคลินิกและการทดสอบในห้องปฏิบัติการชนิดใดจะต้องให้ข้อบ่งชี้  /  เหตุผล
                           รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
                   ทางคลินิก
               • ข้อยกเว้นใด ๆ ในสภาพแวดล้อมเฉพาะ เช่น แผนกฉุกเฉินและหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤต (ดู MMU.4.1 ร่วมด้วย)

                                     ใช้อบรมภายใน
               • ผู้ใดที่ได้รับอนุญาตให้กำหนดคำสั่ง (ดู MMU.4.1 ร่วมด้วย) และ
               • ตำแหน่งใดที่คำสั่งจะได้รับการบันทึกอยู่ในเวชระเบียนของผู้ป่วย  รวมทั้งคำสั่งที่อาจจะได้รับผ่านทางข้อความ

                   (ดู MOI.8 และ MOI.12 ร่วมด้วย)



            องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.2

                ❏ 1.การวางแผนการดูแลถูกบูรณาการและประสานงานระหว่างพื้นที่ หน่วยงาน และการให้บริการ
                ❏ 2.โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการที่เป็นแบบเดียวกันสำหรับการกำหนดการเขียน/บันทึกคำสั่ง

                    ของผู้ป่วย ซึ่งครอบคลุมการระบุคำสั่งที่อาจจะได้รับด้วยวาจา ผ่านทางโทรศัพท์และผ่านทางข้อความ

                ❏ 3.คำสั่งตรวจภาพเพื่อการวินิจฉัยทางคลินิกและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการครอบคลุมข้อบ่งชี้/เหตุผลทาง
                    คลินิก เมื่อจำเป็นต้องมีการแปลผล       ห้ามจำหน่าย

                ❏ 4.คำสั่งได้รับการสั่งโดยผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะทำเช่นนั้นได้เท่านั้น

                ❏ 5.คำสั่งจะพบในตำแหน่งที่เป็นแบบแผนเดียวกันในเวชระเบียนผู้ป่วย
               ___________________________________________________________________________




            มาตรฐาน COP.2.1
            หัตถการทางคลินิกและการตรวจวินิจฉัยทางคลินิก  และการรักษาถูกดำเนินการและบันทึกไว้เป็นคำสั่งรวมถึงผลลัพธ์

            ของการรักษาได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย



            เจตจำนงของ COP.2.1

            หัตถการทางคลินิกและการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกและการดำเนินการรักษา และผลหรือผลลัพธ์ได้รับการบันทึกในเวช
            ระเบียนของผู้ป่วย (ดู PCC.2 และ MOI.8.1 ร่วมด้วย) ตัวอย่างเช่น การทำหัตถการและการรักษา ได้แก่ การส่อง

            กล้อง  (endoscopies),  การตรวจสวนหัวใจ  รังสีรักษา  การตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (CT),  และการ
            ตรวจวินิจฉัยด้วยการทำหัตถการและการรักษาแบบรุกล้ำที่เข้าสู่ร่างกาย  และแบบที่ไม่รุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย  ข้อมูลเกี่ยว

            กับผู้ขอทำหัตถการหรือการรักษา และเหตุผลสำหรับการทำหัตถการหรือการรักษาจะรวมอยู่ในเอกสาร
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176