Page 172 - JCI 7th edition - BPK9 hospital
P. 172
มาตรฐานการรับรอง JCI สำหรับโรงพยาบาล ฉบับที่ 7 172
องค์ประกอบที่วัดได้ของ COP.2.1
❏ 1. หัตถการและการรักษาจะดำเนินการตามคำสั่งการรักษา และมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย
❏ 2. บุคคลที่ร้องขอและเหตุผลในการร้องขอทำหัตถการหรือการรักษามีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย
❏ 3. ผลของการทำหัตถการและการดำเนินการรักษามีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย
___________________________________________________________________________
รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
มาตรฐาน COP.2.2
ใช้อบรมภายใน
แผนการดูแลเป็นรายบุคคลได้รับการพัฒนาและจัดทำเป็นเอกสารสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เจตจำนงของ COP.2.2
ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับแผนการดูแลและการรักษาที่ระบุกิจกรรมการดูแลของทีมดูแลสุขภาพที่จะดำเนินการในการ
แก้ไขหรือสนับสนุนการวินิจฉัยที่ได้จากการประเมิน เป้าหมายโดยรวมของแผนการดูแลคือเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ทาง
คลินิกที่ดีที่สุด (ดู COP.3 ร่วมด้วย)
ห้ามจำหน่าย
กระบวนการวางแผนเป็นการทำงานร่วมกันและใช้ข้อมูลจากการประเมินเบื้องต้นและจากการประเมินซ้ำเป็นระยะ ๆ
โดยแพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญในการรักษา ขั้น
ตอนการดูแลรักษา การพยาบาล และการดูแลอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ผู้ป่วยและครอบครัวมี
ส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนกับทีมผู้ดูแลสุขภาพ แผนการดูแลถูกพัฒนาภายใน 24 ชั่วโมงของการรับเข้ารักษา
เป็นผู้ป่วยในขึ้นอยู่กับการประเมินซ้ำโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย แผนการดูแลถูกปรับปรุงให้
เป็นปัจจุบันตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของผู้ป่วย แผนการดูแลเป็นหลักฐานในเวชระเบียนของผู้
ป่วยที่บันทึกโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
แผนการดูแลผู้ป่วยจะต้องสัมพันธ์กับการระบุความต้องการของผู้ป่วย ความต้องการเหล่านั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงซึ่ง
เป็นผลมาจากผลทางคลินิกที่ดีขึ้น หรือข้อมูลใหม่จากการประเมินซ้ำเป็นประจำ (ตัวอย่างเช่น ผลที่ผิดปกติทางห้อง
ปฏิบัติการหรือจากการถ่ายภาพรังสี) หรือหลักฐานจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วยอย่างฉับพลัน (ตัวอย่างเช่น
การสูญเสียความรู้สึกตัว) แผนการดูแลถูกทบทวนตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และได้รับการบันทึกในเวชระเบียนใน
แผนการดูแลเริ่มต้น หรืออาจบันทึกผลในแผนการดูแลใหม่ บางแผนกอาจดำเนินการประชุมการดูแลผู้ป่วยแบบสห
สาขาวิชาชีพสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่ซับซ้อนจากการบริการที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ได้รับบริการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยได้รับหลายการวินิจฉัยในหน่วยบริการผู้ป่วยวิกฤตหรือผู้ป่วยที่มีความต้องการการวางแผน
จำหน่ายที่ซับซ้อนและสิ่งอื่นที่คล้ายกัน ผลลัพธ์ใด ๆ หรือข้อสรุปจากการประชุมของทีมร่วมดูแลผู้ป่วย หรือจากการ
อภิปรายกับผู้ป่วยที่ถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย (ดู AOP.4 ร่วมด้วย)