Page 103 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 103

95


                          โครงการหลวง คือ การพัฒนาชีวิตตามความเปนอยูของชาวไทยภูเขาใหดีขึ้น ชักจูงใหเลิก

               ปลูกฝน งด การตัดไมทําลายปา และทําไรเลื่อนลอย
                          โครงการตามพระราชดําริ คือ โครงการที่ทรงวางแผนพัฒนาและเสนอแนะใหรัฐบาลเขารวม

                ดําเนินงานตามพระราชดําริ ปจจุบันเรียกวา “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ” ซึ่งมีอยูทั่วทุกภาคของ

                ประเทศไทย
                          “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ” เปนโครงการที่ทรงวางแผนเพื่อการพัฒนา ซึ่งเกิดจาก

               การที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฏรในภูมิภาคตาง ๆ
               ทั่วประเทศ และทรงพบเห็นปญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาเกษตรกรรม จึงไดพระราชทานคําแนะนํา

               เพื่อนําไปปฏิบัติจนไดผลดี และไดรับการยอมรับจากผูปฏิบัติงานทั้งหลายวาสมควรยิ่งที่จะดําเนินตาม
               พระราชดําริ พระราชดําริเริ่มแรกซึ่งเปนโครงการชวยเหลือประชาชนเริ่มขึ้นตั้งแต พ.ศ. 2494 โดยทรง

               พระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหกรมประมงนําพันธุปลาหมอเทศจากปนัง ซึ่งไดรับจากผูเชี่ยวชาญดานการประมง

               ขององคการอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติเขาไปเลี้ยงในสระน้ํา พระที่นั่งอัมพรสถาน และเมื่อวันที่ 7
               พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานพันธุปลาหมอเทศแกกํานันและผูใหญบาน

               ทั่วประเทศ นําไปเลี้ยงเผยแพรขยายพันธุแกราษฏรในหมูบานของตน เพื่อจะไดมีอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น


                        4.  ศูนยศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
                             พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดําริใหจัดตั้งศูนยการศึกษาพัฒนา

               อันเนื่องมาจากพระราชดําริขึ้น โดยมีวัตถุประสงคที่สําคัญ คือ การเปนแหลงหาความรูใหแกราษฎร เพื่อให

               เปนตัวอยางนําไปประยุกตใชกับงานอาชีพของตน โดยเฉพาะอยางยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรมตาง ๆ

               ที่ทําใหเกษตรกรมีรายไดในการเลี้ยงตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น
                             ศูนยศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ไดจัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดําริในทุกภาค

               จํานวน 6 ศูนย  ไดแก  (1) ศูนยศึกษาการพัฒนาเขาหินซอน จังหวัดฉะเชิงเทรา  (2) ศูนยศึกษาการพัฒนา
                                                            หวยทราย จังหวัดเพชรบุรี  (3) ศูนยศึกษาการพัฒนา

                                                            อาวคุงกระเบน จังหวัดจันทบุรี (4) ศูนยศึกษาการ
                                                            พัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร (5) ศูนยศึกษาการพัฒนา

                                                            หวยฮองไคร จังหวัดเชียงใหม (6) ศูนยศึกษาการพัฒนา

                                                            พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส  เพื่อเปนสถานที่ศึกษา
                                                            ทดลอง ทดสอบ และแสวงหาแนวทางวิธีการพัฒนา

                                                            ดานตาง ๆ ใหเหมาะสมสอดคลองกับสภาพแวดลอม

               ที่แตกตางกัน  ศูนยศึกษาฯ จึงเปรียบเสมือน “ตัวแบบ” ของความสําเร็จที่จะเปนแนวทาง และตัวอยางของ
               ผลสําเร็จใหแกพื้นที่อื่น ๆ เปนศูนยบริการแบบเบ็ดเสร็จ  คือ สามารถที่จะศึกษาหาความรูไดทุกเรื่อง ทั้งดาน

               การปรับบํารุงดิน การปลูกพืชสวน พืชไร การเลี้ยงสัตว การประมง ปาไม ตลอดจนการชลประทาน

               งานศิลปาชีพ ฯลฯ ซึ่งผลสําเร็จเหลานี้ไดจัดสาธิตไวในลักษณะของ พิพิธภัณฑธรรมชาติที่มีชีวิต
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108