Page 118 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 118

110


               เรื่องที่ 1 ความหมาย ความสําคัญของเศรษฐศาสตรมหภาคและจุลภาค

                       ความหมาย  เศรษฐศาสตร  เปนวิชาวาดวยการผลิต  การจําหนาย  จายแจก  และการบริโภค
               ใชสอยสิ่งตาง ๆ ของชุมชนมี 2 สาขา คือ เศรษฐศาสตรจุลภาค ไดแก เศรษฐศาสตรภาคที่ศึกษาปญหา

               เศรษฐกิจสวนเอกชน หรือปญหาการหาตลาด เปนตน และเศรษฐศาสตรมหภาค ไดแก เศรษฐศาสตรภาค

               ที่ศึกษาปญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยสวนรวม เชน ปญหาเรื่องรายไดของประชาชาติ การออมทรัพย
               ของประชากรปญหาการลงทุน (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 :

               http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp)

                       เศรษฐศาสตร เปนศาสตรหรือสาขาความรูที่วาดวยการจัดสรรทรัพยากรที่มีจํากัดอยางมีประสิทธิภาพ
               เพื่อประโยชนสูงสุดของสังคม ดังนั้น ไมวาจะเปนดานธุรกิจ การผลิต การขาย การตลาด ดานสุขภาพ ดานการ

               กอสราง ดานสถาปตยกรรม วิศวกรรม ดานการคา การขนสง จะเกี่ยวของกับการจัดสรรทรัพยากรอยางไร

               จะใชอยางไร จะระดมและแบงทรัพยากรอยางไรใหเกิดประสิทธิภาพ คุมคาสูงสุด จะเปนเรื่องที่เกี่ยวของกับ
               เศรษฐศาสตรทั้งสิ้น เศรษฐศาสตรจึงนํามาใชอยางกวางขวาง นอกเหนือจากการใชเพื่อดําเนินนโยบายและ

               มาตรการเพื่อการบริหารจัดการประเทศ  เพื่อใหเกิดผลดีตอเศรษฐกิจและสังคม  นอกจากนี้เศรษฐศาสตร
               เปนศาสตรที่มีพลวัตและการพัฒนาเสมอ เรียกวาเปนศาสตรที่ไมตาย ทั้งดานเทคนิค ทฤษฎี  และการ

               ประยุกต จึงเปนศาสตรที่จะอยูคูโลกเสมอ และที่สําคัญนักเศรษฐศาสตรตองเปนผูใฝรู ใชสติปญญา และมี

               ดานคุณธรรม จริยธรรม ความเปนธรรม ก็เปนประเด็นที่นักเศรษฐศาสตรไมละเลย เพราะจะจัดสรรทรัพยากร
               เพื่อใหสังคมไดประโยชนสูงสุด ตองใชทั้งหลักประสิทธิภาพและเสมอภาคดวย

                       ความสําคัญของเศรษฐศาสตร  เศรษฐศาสตรสามารถจําแนกไดเปน 3 ลักษณะ ดังนี้
                       1. ผูบริโภค ชวยใหผูบริโภคสามารถปรับตัวใหเขากับสถานการณทางเศรษฐกิจของประเทศและของ

               โลกได รูและเขาใจในนโยบายทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกําหนดจะสงผลกระทบผูบริโภคอยางไร ชวยใหเตรียมตัว

               ในการวางแผนใชจาย หรือออมภายในครอบครัว หรือการประกอบอาชีพได
                       2. ผูผลิต ชวยใหผูผลิตสินคาและบริการสามารถวิเคราะหและวางแผนการผลิตไดวาจะผลิตอะไร

               จํานวนเทาไร ผลิตอยางไร สําหรับใคร  ซึ่งตองคํานึงถึงในทุกขั้นตอนกอนสินคาและบริการถึงมือผูบริโภค

               เพื่อใหสามารถแขงขันในตลาดได
                       3.  เศรษฐศาสตร  ชวยใหรัฐบาลเขาใจพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน  ผูผลิต  ปจจัยในการ

               กําหนดสินคาตาง ๆ ความสัมพันธระหวางตลาดตาง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ การกําหนดนโยบายและมาตรการ

               เพื่อมาใชแกปญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ
                       เศรษฐศาสตรจุลภาค  เปนการศึกษาถึงหนวยเศรษฐกิจยอยซึ่งเปนสวนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ

               ทั้งระบบ เชน  การศึกษาพฤติกรรมในการบริโภค  ความชอบ  การเลือก ความพึงพอใจ  ตอสินคาและบริการ
               เพื่อนําผลการศึกษามากําหนดราคา การคิดตนทุน การกระจายสินคา และบริการ เปนตน
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123