Page 78 - ภัมภีร์กศน.
P. 78

ว่าสามารถใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Merriam and
          Brockett, 1997) กระนั้น ก็อาจกล่าวได้ว่า Andragogy ช่วยหล่อหลอมตัว

          ตน (identity) ที่ชัดเจนให้กับวงการการศึกษาผู้ใหญ่ (field of adult
          education) (ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ, 2548 : 8)

                 กล่าวโดยสรุปศาสตร์และศิลป์ในการสอนผู้ใหญ่ (Andragogy)
          เป็นเพียงแนวทางในการจัดสภาพการเรียนรู้ให้ผู้เรียนผู้ใหญ่ หรือเป็น

          เพียงวิธีการในการช่วยให้ผู้ใหญ่เรียนรู้ (Merriam and Brockett, 1997)
          โดยเฉพาะความสำคัญของอัตมโนทัศน์ของผู้ใหญ่ที่รับรู้ว่าตนสามารถชี้นำ

          ตนเองในการเรียนรู้ได้ (self-direction in learning) และหากจัดสภาพ
          การเรียนรู้ที่เอื้อต่อคุณลักษณะนี้ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

          และคงทน

          รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนผู้ใหญ่

                 Knowles (1970) ได้รวบรวมจากประสบการณ์การสอนและ

          ฝึกอบรมผู้ใหญ่มาสอนเป็นรูปแบบการวางแผนกิจกรรมประสบการณ์การ
          เรียนรู้ (learning design models) เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดแก่
          นักการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผู้ใหญ่ให้ออกแบบ

          หรือวางแผนกิจกรรม  ประสบการณ์การเรียนรู้ได้หลากหลายไปตาม

          สถานการณ์ บริบทสิ่งแวดล้อม นโยบายและความเชื่อและกลุ่มผู้เรียน
          ต่อไป Knowles  เสนอตัวอย่างโมเดลไว้  5 รูปแบบ คือ 1)  organic
          model 2) operational model 3) role model 4) functional model

          และ 5) the thematic model สามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้

                 รูปแบบตามโครงสร้าง  (Organic  model)  เป็นรูปแบบมี
          ขั้นตอนชัดเจน 7 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างบรรยากาศ 2) จัดโครงสร้าง



               เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83