Page 79 - ภัมภีร์กศน.
P. 79
ทางกายภาพให้เอื้ออำนวยการร่วมกันวางแผน 3) การร่วมกันวิเคราะห์
ความต้องการ 4) การร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ 5) การร่วมกันวางแผน
กิจกรรม 6) การดำเนินการตามแผน และ 7) การร่วมกันประเมินและ
วิเคราะห์ความต้องการอีกครั้ง
รูปแบบตามขั้นตอนดำเนินการ (Operational Model) เป็น
การวางแผนกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้
(procedure in operation of a machine) กระบวนการต่าง ๆ นี้ ต่างมี
ขั้นตอน (step – by step procedure) ที่สามารถนำมาวางแผนจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ตามลำดับของขั้นตอนดังกล่าวได้เลย ผู้เรียน
ผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมการเรียนรู้ตาม operational model จะได้รับประสบการณ์
การเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการ
รูปแบบตามบทบาท (Role Model) รูปแบบนี้ยึดสมรรถนะ
(competency) หรือความรู้ความสามารถ (performance) ที่จำเป็นในการ
ปฏิบัติภารกิจตามบทบาท (role) เช่น บทบาทของนักส่งเสริมการเกษตร
บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) บทบาทผู้จัดการฝึกอบรม
(trainer) บทบาทพยาบาล (nurse) หรือบทบาทผู้นิเทศงาน (supervisor)
เป็นต้น การปฏิบัติงานตามบทบาทเป็นการระบุชนิดของทักษะ ขอบข่าย
เนื้อหาความรู้และเจตคติที่ต้องฝึกอบรมและพัฒนาให้กับกลุ่มเป้าหมาย
รูปแบบตามหน้าที่ (Functional Model) รูปแบบนี้ยึดภารกิจ
และหน้าที่ของหน่วยงานในองค์กร (functions of an organizational
units) เช่น คณะกรรมการการอำนวยการ (board) คณะกรรมการ
(committee) เจ้าหน้าที่ (staffs) เป็นต้น เป็นกรอบความคิดในการจัด
เนื้อหาและกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่ง
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.