Page 76 - ภัมภีร์กศน.
P. 76
(developmental tasks) มากขึ้น ภารกิจพัฒนาการเป็นความสามารถที่
ต้องมีในบุคคลเพื่อตอบสนองต่อบทบาททางสังคม
4. ความมุ่งหมายของการเรียนรู้ (orientation to learning)
จากความเชื่อในแง่ระยะเวลาของการใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้ เด็ก
มองการใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้ในโรงเรียนในระยะยาวคือ เรียนรู้เพื่อ
เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในชั้นที่สูงขึ้นในอนาคต แต่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่
เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ก็เพื่อใช้ประโยชน์ได้จริงได้ทันทีในชีวิตจริง
ข้อดีและข้อจำกัดของศาสตร์และศิลป์ในการสอนผู้ใหญ่ (Andragogy)
แนวโน้มในระยะหลังมีผู้ตั้งข้อสงสัยและมีข้อโต้เถียงหลายประการ
มีบ้างที่เสนอให้เห็นข้อจำกัดของ Andragogy (Merriam and Brockett,
1997) นักการศึกษาผู้ใหญ่พิจารณา Andragogy หลากหลายมุมมอง เช่น
Andragogy เป็นเพียงแนวทางในการจัดสภาพการเรียนรู้ให้ผู้เรียนผู้ใหญ่
หรือ Andragogy เป็นเพียงความเชื่อเบื้องต้นและวิธีการในการช่วยให้
ผู้ใหญ่เรียนรู้ (Merriam and Brockett, 1997)
นอกจากนั้นก็ยังมีนักการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีข้อสงสัย และข้อ
โต้เถียง และพิจารณาเห็นข้อจำกัดของ Andragogy ในแง่ การชี้นำ
ตนเองในการเรียนรู้ที่อาจไม่เกิดขึ้นถ้าผู้เรียนผู้ใหญ่เข้าไปเรียนรู้ในสาขา
หรือเนื้อหาความรู้ที่ตนเองมีความเชื่อมั่นในตนเองน้อย หรือ เคยประสบ
ปัญหาในการเรียนรู้ เช่น เคยเกิดบาดแผลฝังใจจากการเรียนรู้ในวัยเด็ก
หรือในอดีตที่ผ่านมา ข้อจำกัดอีกประเด็นหนึ่งของ Andragogy คือ ในแง่
การใช้ประสบการณ์เดิมในการเรียนรู้ จะมีได้หรือไม่ถ้าผู้เรียนผู้ใหญ่
ไม่เคยมีประสบการณ์หรือมีน้อยมากในสาขาความรู้ที่เข้าไปเรียน จากข้อ
วิเคราะห์ วิจารณ์ใน Andragogy ดังกล่าว Knowles เสนอคำอธิบาย
และขยายความแนวคิดของ Andragogy เป็นข้อตกลงเบื้องต้น ดังนี้
0 เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.