Page 75 - ภัมภีร์กศน.
P. 75
2. ผู้ใหญ่มุ่งที่ให้การเรียนรู้เกิดประโยชน์กับชีวิตจริง (life-
centered) ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ควรใช้สถานการณ์
จริงในชีวิตเป็นเนื้อหาของการเรียนรู้
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของผู้ใหญ่ คือ ประสบการณ์
4. ผู้ใหญ่มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะชี้นำตนเอง (self-
directing)
5. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual differences) ของ
ผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นตามอายุ
Knowles (1978 อ้างถึงใน ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ, 2541 : 9-10)
ได้แนะนำคำว่า Andragogy มีความเชื่อเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ
ผู้ใหญ่ต่างจากเด็ก ดังนี้คือ
1. อัตมโนทัศน์เปลี่ยนแปลงไป (change in self-concepts)
จากการพึ่งพาผู้อื่นไปสู่การชี้นำตนเอง (self-directedness) เพิ่มขึ้น
การเรียนรู้ที่เหมาะสมควรเป็นแนววิธีที่ผู้ใหญ่ชี้นำตนเองในการเรียนรู้
(self-direction in learning)
2. บทบาทของประสบการณ์ (role of experience) ผู้ใหญ่สะสม
ประสบการณ์เพิ่มขึ้น เป็นการขยายฐานที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์การ
เรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้ที่เหมาะสมจึงควรเป็นแนวที่ใช้ประโยชน์จาก
ประสบการณ์เดิม
3. ความพร้อมที่จะเรียนรู้ (readiness to learn) จากความเชื่อ
เบื้องต้นว่า เมื่อบุคคลเป็นผู้ใหญ่บรรลุนิติภาวะ ความพร้อมในการเรียนรู้
เริ่มเป็นผลจากการพัฒนาทางชีววิทยาหรือทางร่างกายน้อยลง ในทาง
กลับกัน ความพร้อมในการเรียนรู้จะเป็นผลจากภารกิจพัฒนาการ
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.