Page 74 - ภัมภีร์กศน.
P. 74

หลายประการ มีบ้างที่เสนอให้เห็นข้อจำกัดของ Andragogy (Merriam
          and Brockett, 1997)


          วัตถุประสงค์
                 การเรียนรู้ของผู้ใหญ่เป็นแนวคิดเพื่อเสริมสร้างให้นักการศึกษา

          นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เข้าใจ เห็นภาพ และสร้างเจตคติที่
          เป็นประโยชน์ในการช่วยให้ผู้เรียนผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ


          ความหมายของศาสตร์และศิลป์ในการสอนผู้ใหญ่ (Andragogy)
                 ในการเสนอความคิดเกี่ยวกับ Andragogy ในระยะแรก Knowles
          (1970) ให้ความหมายของ Andragogy ว่าเป็นศาสตร์และศิลปะในการ

          ช่วยให้ผู้ใหญ่เรียนรู้ ซึ่งแตกต่างจากแนวคิด Pedagogy ที่เป็นศาสตร์ใน
          การสอนเด็กแบบดั้งเดิม  Knowles  ให้ความเห็นเกี่ยวกับ  Pedagogy

          ถึงข้อจำกัดและความไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่  ทั้งนี้
          อธิบายโดยข้อตกลงหรือความเชื่อเบื้องต้น (assumptions) ที่ผู้ใหญ่ต่าง
          จากเด็กทั้งสิ้นสี่ประการคือ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับ

          ตนเอง (self-concept) ประสบการณ์ (experience) ความพร้อมในการ
          เรียนรู้ (readiness to learn) และจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ (orientation

          to learning) (ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ, 2548 : 8)
                 ในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่นั้น มีข้อควรพิจารณาสรุปเป็นประเด็นที่
          สำคัญได้ดังนี้ (ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ, 2541 : 8)

                 1.  เมื่อผู้ใหญ่ตระหนักว่าการเรียนรู้สามารถตอบสนองความ
          ต้องการ  (needs)  และความสนใจของตนเอง  นั่นหมายถึงผู้ใหญ่ถูก
          กระตุ้นที่จะเรียนรู้แล้ว จุดนี้นั่นเองเป็นจุดเหมาะสมในการเริ่มต้นกิจกรรม

          การเรียนของผู้ใหญ่



               เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79