Page 88 - ภัมภีร์กศน.
P. 88
การรู้หนังสือ
(Literacy)
ความนำ
เป็นที่ทราบกันดีว่าการรู้หนังสือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา
ประเทศ และทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการ
รู้หนังสือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนพึงจะได้รับ เพื่อเป็นเครื่องมือใน
การแสวงหาความรู้และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การ
รู้หนังสือมีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้ทรงชี้ให้เห็นถึงความ
สำคัญของการรู้หนังสือโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และในการ
เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมในโอกาสแห่งการประกาศปี
สากลแห่งการรู้หนังสือขององค์การสหประชาชาติ (ปี คศ. 1990) ใน
เดือนมกราคม ปี 2533 โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนามากกว่า 500 คน จาก 102
ประเทศ ซึ่งกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม
สมัชชาสากลว่าด้วยการศึกษาผู้ใหญ่ครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
1
ธรรมาธิราช พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ในการเปิดประชุมตอนหนึ่งว่า…
1 อ้างใน www.dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/si3.html วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550.
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.