Page 90 - ภัมภีร์กศน.
P. 90
(functional literacy) การรู้หนังสือควรส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและ
เศรษฐกิจ (และต่อมายังขยายไปถึงการพัฒนา ด้านอื่น ๆ เช่น บุคคล
วัฒนธรรม และการเมือง) การรู้หนังสือสามารถจะสอนให้เกิดทักษะทั่วไป
ที่สามารถนำไปใช้ในทุกหนทุกแห่งได้
3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการเรียนรู้ (literacy as a learning
process) การรู้หนังสือไม่ใช่การรู้หนังสือแบบจำกัดตัวอยู่เฉพาะการจัดให้
อ่านเขียนเท่านั้น แต่มองว่าประสบการณ์เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการ
เรียนรู้
4. การรู้หนังสือเป็นการอ่านตำรา (literacy as text) แนวคิดนี้
มองว่า การรู้หนังสือเป็นการอ่านตำรา แบบเรียนหรือวัสดุการอ่านที่ใช้ใน
โรงเรียน มีความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียนในปัจจุบันและอนาคต จึงควร
ศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวที่อยู่ในหนังสือเหล่านั้น เพื่อทำความเข้าใจชีวิตใน
ปัจจุบัน และอนาคตที่ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วม
ความหมายของการรู้หนังสือในปัจจุบันนี้ น่าจะเป็นเช่นที่ยูเนสโก
สรุปว่า
“…จากความหมายง่าย ๆ ว่า การรู้หนังสือเป็นเพียงทักษะการ
อ่าน การเขียนและการคิดคำนวณเปลี่ยนไปสู่ความหมายที่ซับซ้อนมากขึ้น
และกินความหลากหลายรวมไปถึงสมรรถภาพสำคัญที่มิอาจปฏิเสธได้
แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนความก้าวหน้าด้านสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นการยอมรับว่า มีการปฏิบัติในด้านการรู้หนังสือหลายอย่าง ซึ่งยังแฝง
อยู่ในวัฒนธรรมที่หลากหลายในสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล และใน
โครงการที่ผู้คนอยู่รวมกัน” 4
4 UNESCO. 2004. The Plurality of Literacy and Its Implication of Policies
and Programmes. Paris : UNESCO. (UNESCO Education Sector Position Paper,
UNESCO, Paris. 2004).
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.