Page 93 - ภัมภีร์กศน.
P. 93
ความเป็นมา
การจัดการศึกษาเพื่อการรู้หนังสือในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี
การรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา มีร่องรอยของการให้
ความหมายของการรู้หนังสือแตกต่างกันไปตามจุดเน้นของโครงการและ
ยุคสมัย เช่นกัน กล่าวคือ
ช่วงที่ 1 การรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือและการศึกษาภาคหลัก
มูลฐาน โครงการแรก ดำเนินการในระหว่าง พ.ศ. 2483 – 2488 โครงการ
ที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2492 จนถึง พ.ศ. 2515 เมื่อมีโครงการการศึกษา
แบบเบ็ดเสร็จมารับช่วง
ในช่วงที่ 1 จุดเน้นของการรู้หนังสือ ก็คือ การสอนให้ผู้เรียนมี
ทักษะอัตโนมัติที่จะอ่านและเขียนหนังสือได้ ซึ่งสอดคล้องกับการจัด
ประเภทของความหมายของการรู้หนังสือของยูเนสโกข้างต้น ซึ่งจัดไว้เป็น
ประเภทที่ 1 ว่า การรู้หนังสือเป็นทักษะอัตโนมัติ (literacy as an
autonomous set of skills)
ช่วงที่ 2 การศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ (functional literacy)
ดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2531 เมื่อมีหลักสูตรการศึกษา
นอกโรงเรียน พุทธศักราช 2531 เข้ามาใช้แทน
โครงการการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ เน้นการสอนให้คิดเป็น หมายถึง
การสอนให้รู้จักใช้ข้อมูลอย่างรอบด้านในการแก้ปัญหา การอ่าน เขียน
มีจุดเน้นพิเศษ สอนให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันในสิ่งแวดล้อมของผู้เรียน
เช่น การกินอาหาร การป้องกันโรค การจัดสิ่งแวดล้อม การประกอบ
อาชีพ ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว ชุมชน การวางแผนครอบครัว
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ฯลฯ ความหมายของการรู้หนังสือแบบเบ็ดเสร็จ
ซึ่งมีจุดเน้นให้เกิดทักษะที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้และปฏิบัติใน
ชีวิตประจำวันและเน้นกระบวนการเรียนรู้สอดคล้องกับนิยามของยูเนสโก
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.