Page 98 - ภัมภีร์กศน.
P. 98

ความหมาย
                 ศาสตราจารย์อาลัน โทมัส จากสถาบันศึกษาศาสตร์ แห่งรัฐ

          ออนทาริโอ (Ontario Instititute of Studies in Education) ที่ประเทศ
          คานาดา ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ตามธรรมชาติของการเรียนรู้
          ของมนุษย์ ดังนี้

                 1.  การเรียนรู้ คือ การปฏิบัติ การลงมือปฏิบัติคือ การฝึกให้
          เกิดการเรียนรู้

                 2.  การเรียนรู้เป็นเรื่องของเอกัตบุคคล ใครจะเรียนรู้อะไรเป็น
          เรื่องของแต่ละบุคคล ทุกๆ คนอาจนั่งฟังคำบรรยายเหมือนกัน แต่คน
          หนึ่งฟังแล้วได้ความคิดไปอย่างหนึ่ง  อีกคนหนึ่งได้ความคิดไปอีกอย่าง

          หนึ่ง นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เพราะมนุษย์
          แตกต่างกัน ส่วนประกอบของสมองก็ไม่เหมือนกัน ชอบ ชัง ต่างๆ กัน

          มีข้อมูลเดิมในสมอง และแนวคิดเดิม ข้อสมมติฐานเดิมต่างกัน ฉะนั้น
          จึงรับรู้ คิดวิเคราะห์แตกต่างกันไป
                 3. การเรียนรู้นั้นกลับหลังหันมิได้  (irreversible) เมื่อรู้แล้ว

          จะแสร้งทำเหมือนไม่รู้ไม่ได้ เมื่อรู้แล้วพฤติกรรมมนุษย์ย่อมเปลี่ยนไป
          เฮราคลิตุส (Heraclitus) นักปราชญ์กรีกโบราณ จึงกล่าวว่า “มนุษย์
          ไม่สามารถจะกระโดดลงไปในแม่น้ำสายเดียวกันสองครั้งได้” เมื่อมนุษย์

          คนหนึ่งกระโดดลงไปครั้งแรกแล้ว  เมื่อกระโดดครั้งที่สองทั้งตัวมนุษย์
          ผู้นั้น ทั้งแม่น้ำสายนั้นเปลี่ยนแปลงไป นี่คือความหมายของเฮราคลิตุส
          การเรียนรู้จึงกลับหลังหันไม่ได้ เหมือนเทปแผ่นเสียงที่ม้วนกลับได้

                 4. การเรียนรู้คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้า จะจัดการเรียนรู้ด้าน
          วิทยาศาสตร์ ก็จะต้องจัดสิ่งเร้าคือ สร้างปมปัญหาให้นักเรียนสนใจที่จะ

          แก้ไข มนุษย์มีความอยากรู้เป็นสัญชาติญาณอยู่แล้ว หลักการสอนหนังสือ
          ที่สำคัญที่สุดหลักหนึ่งก็คือ จัดสิ่งเร้าไว้ตลอดเวลา นั่นคือตั้งคำถามให้



               เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103