Page 97 - ภัมภีร์กศน.
P. 97

การเรียนรู้



                                                            (Learning)








             ความนำ

                     การเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
             บุคคลกับสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพ จิตภาพ สังคม และวัฒนธรรม ผลจาก
             ปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องนี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในตัวคน

             ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล  (วิกร  ตันฑวุฑโฒ,
             2536 : 111) ซึ่งสอดคล้องกับ สุวัฒน์ วัฒนวงศ์ (2544 : 87) ที่ได้ให้

             ความหมายของการเรียนรู้ ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
             อันเนื่องมาจากการได้รับสิ่งเร้า และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว
             ควรจะมีลักษณะที่ถาวรพอสมควร ซึ่งก็คือ การได้รับประสบการณ์นั่นเอง

             และวิชัย วงษ์ใหญ่ (2542 : 56) กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องของทุกคน
             ศักดิ์ศรีของผู้เรียนจะมีได้เมื่อมีโอกาสในการเลือกเรียนในเรื่องที่หลากหลาย

             และมีความหมายแก่ตนเอง  การเรียนรู้มีองค์ประกอบ  2  ด้าน  คือ
             องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อม โรงเรียน สิ่งอำนวยความ
             สะดวก และครู องค์ประกอบภายใน ได้แก่ การคิดเงิน พึ่งตนเองได้

             มีอิสระ ใฝ่รู้ ใฝ่สร้างสรรค์ มีความคิดเชิงเหตุผล มีจิตสำนึกในการเรียนรู้
             มีเจตคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้




                        เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102