Page 92 - ภัมภีร์กศน.
P. 92
สำหรับประเทศไทย ได้ใช้นิยามการรู้หนังสือ ดังนี้
1. การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถอ่านและเขียน
(อ่านน้อย) ข้อความง่าย ๆ ภาษาใดภาษาหนึ่งได้ ถ้าอ่านออกอย่างเดียว
แต่เขียนไม่ได้ถือว่าเป็นผู้อ่านเขียนไม่ได้ 6
2. การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถในการอ่านออก
เขียนได้ของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป การอ่านออกเขียนได้นี้ จะ
เป็นภาษาใด ๆ ก็ได้ทั้งสิ้น โดยอ่านและเขียนข้อความง่าย ๆ ได้ ถ้าอ่าน
ออกเพียงอย่างเดียว แต่เขียนไม่ได้ก็ถือว่าเป็นผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ 7
3. การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถในการอ่านออก
เขียนได้ของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป การอ่านออกเขียนได้ จะเป็น
ภาษาใด ๆ ก็ตามทั้งสิ้น โดยอ่านและเขียนข้อความง่าย ๆ ได้ ถ้าอ่านออก
เพียงอย่างเดียวแต่เขียนไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ 8
จึงอาจกล่าวได้ว่า การรู้หนังสือและการคิดเลขได้ในประเทศไทย
จะนิยามแตกต่างกันไปตามลักษณะงานขององค์กร ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1) Working definition เป็นนิยามที่สำนักงานสถิติใช้ในการทำ
สำมะโนประชากร โดยให้นิยามว่า การรู้หนังสือ หมายถึง การอ่านออก
เขียนได้ ภาษาใดก็ได้
2) Promotion definition เป็นนิยามที่สำนักบริหารงานการ
ศึกษานอกโรงเรียนใช้ในโครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ โดยให้นิยามไว้
ว่า ผู้รู้หนังสือ หมายถึง ผู้ที่สามารถเข้าใจได้ทั้งการอ่าน เขียน ข้อความ
ง่าย ๆ และการคิดคำนวณที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 9
6 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2528. รายงานผลการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านออก
เขียนได้ของประชากร พ.ศ. 2528. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
7 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2537. รายงานการสำรวจการอ่านเขียน
ของประชากร พ.ศ. 2537. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
8 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
9 กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2537. นโยบายการส่งเสริมการรู้หนังสือไทย.
กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.