Page 89 - ภัมภีร์กศน.
P. 89

...การรู้หนังสือเป็นความจำเป็นสำหรับทุกชาติที่กำลังพัฒนา
             ตลอดจนเป็นกิจกรรมที่ต้องร่วมมือกัน  ส่งเสริมให้บรรลุผลให้ได้  ถ้า
             ปราศจากพื้นฐานการรู้หนังสือของประชาชนในประเทศแล้ว ความ

             พยายามในการ ดำเนินการพัฒนาคงไร้ผล การรู้หนังสือเป็นส่วนหนึ่ง
             ของวิธีการที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายอันสูงสุด...”  2

                     ปัจจุบันมีคนไทยรู้หนังสือประมาณ 96% ไม่รู้หนังสือ 4-5% หรือ

             ประมาณ 3 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเฉพาะ เช่น ชาวเขา ชนกลุ่มน้อย
             รวมทั้งคนกลุ่มที่ไม่ได้เรียนหนังสือเพราะตกหล่น กับกลุ่มที่เรียนผ่านมา
             แล้วแต่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้  นอกจากนี้ยังมีผู้ที่อ่านออกเขียน

             ได้แล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้ใช้จึงลืมที่เคยเรียนมา

             ความหมาย
                     องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

                                                                  3
             (UNESCO) ได้นิยามการรู้หนังสือ (Literacy) ไว้เป็น 4 จำพวก  ดังนี้
                     1. การรู้หนังสือเป็นทักษะอัตโนมัติชุดหนึ่ง (literacy as an
             autonomous set of skills) จุดเน้นของความหมายนี้ คือ ทักษะการอ่าน

             ฟัง พูด เขียน และทักษะการคิดคำนวณ
                     2.  การรู้หนังสือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติและขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
             (literacy as applied, practiced and situated) เป็นการมุ่งใช้ทักษะ
             ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นที่มาของการรู้หนังสือแบบเบ็ดเสร็จ


             2   อ้างใน www.dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/si3.html.
             3  สุนทร สุนันท์ชัย (แปลและเรียบเรียง). การรู้หนังสือ : บันไดสู่อิสรภาพ นิยาม
               และการประเมินของนานาชาติ. (สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน, พ.ศ.
               2549).  50  หน้า.  อ้างจาก  webpage  ที่  http://www.oknation.net/blog/
               print.phpMid=104325 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550.



                        เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94