Page 94 - ภัมภีร์กศน.
P. 94
ที่ว่า การรู้หนังสือเป็นสิ่งที่ใช้ปฏิบัติและขึ้นอยู่กับสภาพ แวดล้อม
(literacy as applied, practiced and situated) และเป็นกระบวนการ
เรียนรู้ (literacy as a learning process) เนื่องจากโครงการนี้สอนให้คิด
เป็น
ช่วงที่ 3 หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530
และหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนฉบับปัจจุบัน
หลักสูตรทั้งสองฉบับ มีแนวโน้มที่จะใช้การอ่านเขียนเป็นเครื่อง
มือในการเรียนรู้ เพื่อเตรียมผู้เรียนให้สามารถปรับตัวได้ในยุคโลกาภิวัตน์
สามารถอ่านเข้าใจข้อความจากเอกสารต่าง ๆ ได้ สอดคล้องกับนิยาม
ข้อสุดท้ายของยูเนสโก ที่ว่า การรู้หนังสือเป็นการอ่านรู้ตำรา (literacy
as text)
นโยบายและเจตจำนงของรัฐ
เนื่องจากการรู้หนังสือว่าเป็นสิทธิมนุษย์ชนอย่างหนึ่งที่ทุกคน
พึงได้รับเพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และการดำรงชีวิต
ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้กำหนดสิทธิดังกล่าวไว้
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ที่
บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดย
ไม่เก็บค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ ยังปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 10 ที่บัญญัติว่า
การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมี
คุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.