Page 95 - ภัมภีร์กศน.
P. 95

การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย
             จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  การสื่อสารและการเรียนรู้  หรือมี

             ร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือ
             ไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้
             รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ

                     การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือ
             พบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่ง
             อำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

             ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
                     การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัด
             ด้วยรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสำคัญของบุคคลนั้น

                     มาตรา 60 (3) บัญญัติว่า จัดสรรงบประมาณและทรัพยากร
             ทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความจำเป็นใน

             การจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษแต่ละกลุ่มตาม
             มาตรา 10 วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ โดยคำนึงถึงความเสมอภาค
             ในโอกาสทางการศึกษาและความเป็นธรรม และในมาตรา 22 บัญญัติว่า

             การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ
             พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการ

             ศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตาม
             ศักยภาพ

             สรุป

                     จากนโยบายและเจตจำนงดังกล่าวเพื่อให้กฎหมายดังกล่าวได้รับ
             การปฏิบัติ จึงได้กำหนดเป้าหมายที่สำคัญที่จะต้องนำไปดำเนินการไว้ใน

             แผนปฏิบัติการศึกษาเพื่อปวงชนสำหรับประเทศไทย ตามกรอบปฏิบัติการ



                        เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100