Page 99 - ภัมภีร์กศน.
P. 99
นักเรียนตอบและคิดค้นคว้า จัดสิ่งแวดล้อมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ให้
แต่ละคนได้แสดงออก มนุษย์มีอัตตาเป็นพื้นฐาน การให้มนุษย์ได้
แสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนา “อัตตา” ในทิศทางที่ถูกต้อง
มากกว่าปล่อยให้ไปแสดงออกในเชิงลบ
5. การเรียนรู้นั้นตลอดชีวิต ในวินาทีสุดท้ายของชีวิต อาจเกิด
ดวงตาเห็นชอบ มองเห็น แสงสว่างสุดท้ายทางชีวิตก็ได้
6. การเรียนรู้ใช้เวลา การเรียนรู้มีความหมายลึกซึ้ง มีระดับ
ของการเรียนรู้ การเรียนรู้ขั้นตอนปฏิบัติง่ายๆ อาจใช้เวลาไม่นาน แต่หาก
ต้องเรียนทักษะบางประการ เช่น ขับรถ ก็ต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ของ
การฝึก ยิ่งกีฬาบางประเภท เช่น กอล์ฟ ก็อาจใช้เวลาตลอดชีวิตกว่าจะ
เป็นมือโปร แต่การเรียนรู้ที่ยากและใช้เวลามากก็คือ การเรียนทางด้าน
ความคิด การเรียนที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และเรียนรู้ที่จะ
เปลี่ยนทัศนคติ
7. การเรียนรู้มักได้รับอิทธิพลจากผู้อื่น การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
ร่วมกันของสังคม เราเรียนรู้จากผู้อื่น และผู้อื่นเรียนรู้จากเรา ไม่ทราบว่า
ใครหยิบยื่นความคิดซึ่งกันและกัน
8. การเรียนรู้บังคับกันมิได้ จากธรรมชาติการเรียนรู้เช่นนี้ การ
จัดการศึกษาตลอดชีวิตจะต้องปรับยุทธวิธีจากการเรียนการสอน โดยยึด
หลักการเรียนรู้ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น
โอกาสของการเรียนรู้
มนุษย์มีโอกาสเรียนรู้ตามธรรมชาติ ในโอกาสต่างๆ ดังนี้
1. ในโอกาสของการเข้าไปสู่ระบบใหม่ (Entry Point) เช่น
ทารกแรกเกิด จากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จากมัธยมศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัย
จากมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบการทำงาน การเข้าไปสู่ระบบใหม่ ต้องการ
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.