Page 134 - sittichok
P. 134
กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2553. บรรเลง ศรนิล และ
ประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์, ตารางโลหะ, กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ, 2553.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์
สถาบันราชภัฏพระนคร, 2553. มงคล ชมบุญ. ทฤษฎีไฟฟ้าทั่วไป. กรุงเทพฯ :
หจก.ฤทธิศรีการพิมพ์, 2553. ยุทธ ไกยวรรณ์, พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น,
2553 อดุลย์ ใจดาบุตร. “แหล่งดินขาวชนิดปฐมภูมิ จังหวัดลําปาง”. กองเศรษฐธรณีวิทยา
กรมทรัพยากรธรณี, กรกฎาคม 2553
การสร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมอัตโนมัติ
เพื่อใช้แก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ที่ต้องใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้า
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติสําหรับใช้
ประกอบการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ที่ต้องใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ขนาด 2.6 มิลลิเมตร
โดย สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งหมด 60 บัตร ในแต่ละบัตรสามารถกําหนดการจ่ายได้ครั้งละ 999
เส้นต่อบัตร ซึ่งการจ่ายแต่ละครั้งจะต้องนําลวดเก่าที่มีขนาดความยาว 35-55 มิลลิเมตรมาแลก
เพื่อเป็นการ ตรวจสอบการใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าให้เหมาะสมต่อการฝึกปฏิบัติต่องานนั้น ๆ รวมทั้ง
มีคู่มือการใช้งาน และมีความปลอดภัยในการใช้งาน โดยเป็นการพัฒนาให้มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
เหมาะสมกับงานปัจจุบัน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติ จํานวน 1 ชุด ถูก
ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเป็น ผู้ที่มีประสบการณ์ในงานแต่ละด้านไม่น้อยกว่า 5 ปี ประกอบไป
ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ด้านงานเชื่อมไฟฟ้าจํานวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญที่มี
ประสบการณ์ด้านงานเครื่องกลโรงงานจํานวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านงาน
อิเล็กทรอนิกส์จํานวน 3 คน ทําการประเมินคุณภาพให้กับ เครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติ
โดยมีค่า IOC ไม่น้อยกว่า 0.5 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กําหนดไว้ จึง กล่าวได้ว่าเครื่องจ่ายลวดเชื่อม
ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้อง กันว่ามีคุณภาพ และเป็นไป
ตามสมมติฐานการวิจัยสามารถนําเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัตินี้ ไปใช้ประกอบการฝึก
ปฏิบัติประเภทงานที่ต้องใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาด 2.6 มิลลิเมตร เพื่อเป็นการ ปลูกฝังให้
นักศึกษารู้จักการใช้วัสดุในงานนั้นๆ ให้คุ้มค่ามากที่สุด
125