Page 137 - sittichok
P. 137
เบิกจ่ายได้สูงสุดครั้งละ 999 เส้น แล้วแต่ผู้ควบคุมกําหนดให้แต่ละใบงานในการฝึกปฏิบัติ เพื่อ
ตรวจสอบความเป็นนักศึกษาที่เรียนวิชาเชื่อมไฟฟ้าเบื้องต้นเท่านั้น จากนั้นจึงจะทําการจ่ายลวด
เชื่อมไฟฟ้าให้โดยเบิกจ่ายครั้งละ 1 เส้น
5.2 บัตรรหัส หมายถึง บัตรที่แถบแม่เหล็กที่ถูกกําหนดโดยรายวิชาที่เข้าศึกษาวิชางานเชื่อม
และโลหะแผ่นเบื้องต้นรวมทั้งวิชาอื่น ๆ ที่ต้องใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้ายิ่งวิชางานเชื่อมซ่อมบํารุง งาน
ประดิษฐ์และงานเชื่อมในแต่ละภาคการศึกษานั้น ๆ
5.3 ก้นลวดเชื่อม หมายถึง บริเวณด้านปลายสุดของลวดเชื่อมไฟฟ้าที่ไม่มีฟลักซ์หุ้มเพื่อใช้ นํา
กระแสไฟฟ้าโดยนําหัวเชื่อมไฟฟ้ามาคีบจับ โดยระยะความยาวเฉลี่ยในการคีบจับประมาณ 22
มิลลิเมตร แต่ในการตรวจวัดของชุดตรวจสอบนั้นประมาณ 35-55 มิลลิเมตร
6. ประโยชน์ของผลการวิจัย
6.1 เครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติจะช่วยลดการสูญเสียของลวดเชื่อมไฟฟ้าและช่วย
ประหยัดงบประมาณของวิทยาลัย
6.2 เพื่อฝึกให้นักศึกษารู้จักใช้วัสดุให้คุ้มค่าในการฝึกปฏิบัติงานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น
งานเชื่อมซ่อมบํารุงและงานประดิษฐ์งานเชื่อมโลหะ เนื่องจากหลังการเชื่อมเสร็จนักศึกษาต้องนํา ก้น
ลวดเชื่อมไฟฟ้ามาแลกเพื่อจะเบิกเส้นใหม่ได้
6.3 เพื่อฝึกให้นักศึกษารู้จักรักษาความสะอาดพื้นที่ในการปฏิบัติงาน เพื่อลดปริมาณการทิ้ง
เศษกันลวดเชื่อมไฟฟ้า
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในบทนี้จะกล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ สูตรคํานวณต่าง ๆ และชิ้นส่วนที่
เกี่ยวข้องในการสร้างเครื่องเบิกจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าฟลักซ์หุ้มให้เครื่องทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
สูงสุด ดังนั้นผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
* อุปกรณ์งานเชื่อมและงานเครื่องกล
* ระบบควบคุมอัตโนมัติ
* งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. อุปกรณ์งานเชื่อมและงานเครื่องกล
1.1 ความหมายของลวดเชื่อมไฟฟ้า (Electrodes) จะทําหน้าที่เป็นตัวอาร์กโลหะงาน ทําให้ เกิด
ความร้อนสูงจนกระทั่งโลหะหลอมละลาย ในขณะเดียวกันลวดเชื่อมเองก็จะหลอมละลายและ เติม
ลงบนเนื้อโลหะเมื่อเย็นตัวลงจะแข็งตัวกลายเป็นแนวเชื่อม เพื่อให้แนวเชื่อมแข็งแรง โลหะที่จะ เชื่อม
และลวดเชื่อมต้องเป็นโลหะชนิดเดียวกัน
128