Page 138 - sittichok
P. 138
1.2 ชนิดของลวดเชื่อมโลหะ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.2.1 ลวดเชื่อมเปลือย (Bare Electrode)
1.2.2 ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Flux Covered electrode) ในการวิจัยครั้งนี้จะกล่าวเฉพาะ
ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ที่ใช้เชื่อมเหล็กเหนียวเท่านั้น
วิธีสด าเนินการวิจัย
การวิจัยในการสร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติ เพื่อลดการสิ้นเปลืองอันเป็นผล
ทั้ง จากทางตรงและทางอ้อม จากการเชื่อมโดยใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้า เพื่อฝึกทักษะงานเชื่อมไฟฟ้า
ของ นักศึกษาทุกสาขาที่เข้าฝึก ผู้วิจัยได้วางแผนวิธีดําเนินการในการวิจัยตามลําดับ เพื่อให้
บรรลุ วัตถุประสงค์ โดยที่ผู้จัดทําได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้า
อัตโนมัติ และ ข้อมูลเกี่ยวข้อง และเมื่อได้ข้อมูลพร้อมแล้วจึงดําเนินการสร้างเครื่องจ่ายลวด
เชื่อมอัตโนมัติ เพื่อให้ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
* การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
* ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
* เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
* การทดลองใช้และเก็บข้อมูล
* การวิเคราะห์และสรุปผล
1. การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าของนักศึกษาในการฝึกทักษะการ
เชื่อมนั้น เศษของลวดเชื่อมไฟฟ้าที่เหมาะสมหลังการเชื่อมต้องมีความยาวระหว่าง 35 ถึง 50
มิลลิเมตร แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่นักศึกษาใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าในการฝึกเชื่อมเหลือเศษลวดเชื่อม
ยาวมากทําให้ เกิดความสิ้นเปลืองที่ไม่คุ้มค่า และจากการสอบถามอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายคน
การเก็บข้อมูล ของนักศึกษาแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ เป็นเวลา 1
สัปดาห์ พบว่าเศษลวด เชื่อมไฟฟ้าที่นักศึกษาเชื่อมแล้วทิ้งอย่างไม่คุ้มค่านั้น มีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
2. ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการวิจัย
ในการศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการวิจัยนั้นผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อให้
ดําเนินการ สรางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการออกแบบจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
* วัสดุที่นํามาสร้างเครื่องต้นแบบหาได้สะดวก
* ต้นทุนในการสร้างต่ํา * โครงสร้างแข็งแรง
* มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน * น้ําหนักเบาใช้งานสะดวก
129