Page 135 - sittichok
P. 135

บทน า
          1. ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

                   ด้วยสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาซึ่งได้เปิดการเรียนการสอนช่างเชื่อมโลหะ

          ขึ้นทั่ว  ประเทศและเป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิต
          บุคลากรที่ มีทักษะเข้าสู่ระบบงานทางด้านอาชีวศึกษา ดังนั้นนักศึกษาทุกสาขาวิชาชีพที่ได้ผ่าน

          การศึกษาแล้วนั้น      สิ่งที่สําคัญอย่างยิ่งที่ทางสถาบันการอาชีวศึกษามุ่งเน้นคือการฝึกฝนทักษะ

          ทางด้านวิชาชีพเฉพาะใน แต่ละด้านให้มีความสามารถปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          และในอดีตผู้วิจัยได้ ทําการสร้างเครื่องอบจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาดไดมิเตอร์ 2.6 มม. และ 3.2

          มม. ขึ้นซึ่งมีลักษณะ เป็นทรงหกเหลี่ยมใช้มือหมุนเพื่อที่จะให้ลวดเชื่อมไหลลงมาที่ช่องรับลวด

          เชื่อมไฟฟ้าในตัวเครื่องจะ  เป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อทําให้ลวดเชื่อมไฟฟ้าไหลลงได้สะดวกและจะมี
          แผ่นทําความร้อนอยู่ในตัว เครื่องทําให้ลวดเชื่อมไฟฟ้าที่อยู่ในเครื่องอบจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าไม่ชื้น

          และนําไปเชื่อมอย่างมี ประสิทธิภาพ

                 ในปัจจุบันจึงมีการวิจัยและสร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาดไดมิเตอร์ 2.6 มม. ขึ้นมา

          ใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมทั้งหมดจึงสะดวกต่อการใช้ ตัว
          เครื่องมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม      วัสดุที่ใช้เป็นสเตนเลสทําให้ไม่เป็นสนิมคงทนแข็งแรงและ

          สวยงาม       และการเรียนการสอนปัจจุบันต้องการให้นักศึกษามีทักษะทางวิชาชีพนั้น        ต้องมี

          องค์ประกอบความ พร้อมทั้งทางด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกให้เพียงพอจึงจะทําให้การฝึก
          มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีได้    แต่ปัจจุบันเครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกลดน้อยลงเนื่องจากสภาพทาง

          เศรษฐกิจถดถอยส่งผล อยู่จึงต้องจํากัดการใช้อุปกรณ์หรือวัสดุฝึก ให้เกิดประโยชน์ในการฝึกให้

          มากที่สุด
                ตารางที่ 1 รายงานจํานวนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ปี 2552 ลําดับ


                              ล าดับ    แผนกวิชาช่าง                           จ านวน

                              1         แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ                 111 คน

                              2         แผนกวิชาช่างยนต์                       140 คน

                              3         แผนกวิชาช่างกล                         132 คน

                              4         แผนกวิชาช่างไฟฟ้า                      144 คน

                              5         แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์             146 คน

                              6         แผนกวิชาช่างก่อสร้าง                   118 คน


                              7         แผนกวิชาช่างยนต์(DVT)                  92 คน
                                        รวมทั้งสิ้น                            883 คน




                                                    126
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140