Page 20 - คำภาษาอื่นๆ
P. 20
11
2. ค ำภำษำทมิฬในภำษำไทย
ชนชาติทมิฬ หมายถึง ชนชาติที่มีอยู่ในเมืองโจฬะทางอินเดียตอนใต้หรือเกาะลังกา
ปัจจุบันคือ ประเทศศรีลังกา บางครั้งเราเรียกว่า พวกสิงหล มีความสัมพันธ์กับชนชาติไทย
มาช้านานโดยเฉพาะชาวภาคใต้ จากหลักฐานในหนังสือประวัติศาสตร์ภาษาบาลีชื่อชินทลมาลี
เรื่องกษัตริย์ไทยแห่งแคว้นสุโขทัย (พระร่วง) ได้ส่งคณะทูตไปยังลังกาเมื่อ พ.ศ.1799
เพื่ออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงมาก
ในหนังสือมหาวงศ์กล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองแหลมไทยชื่อพระเจ้าจันทรภาณุได้รุกราน
เกาะลังกาถึง 2 ครั้ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากทหารที่เกณฑ์มาจากอาณาจักรปาณขยโจ
และบรรดาประเทศทมิฬ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความเกี่ยวข้องกันระหว่างไทยและทมิฬ
ศาสตราจารย์ยอร์ชเซเดส์อ้างจารึกที่เป็นภาษาทมิฬในภาคใต้ย่อมเป็นเครื่องยืนยันเด่นชัดว่า
การที่ต้องจารึกเป็นภาษาทมิฬแสดงว่าภาษาทมิฬแพร่หลายในภาคใต้พอสมควรเพราะ
การจารึกย่อมสื่อสารแก่ผู้พบเห็น จึงต้องใช้ภาษาที่สื่อสารกันในสมัยนั้นและในสมัยนั้น
อักษรไทยยังไม่ประดิษฐ์ขึ้น
ตัวอย่ำงค ำภำษำทมิฬ
ค ำภำษำทมิฬ ค ำแปล
แกงกะหรี่ แกงแขกชนิดหนึ่งประกอบด้วยขมิ้นและเครื่องเทศ
ก ามะหยี่ ผ้าขนสัตว์ (มีขนอ่อนนุ่มเป็นมัน)
กระสาย เครื่องแทรกยา
จงกลนี ดอกบัวแดง
วิไล งาม
กุลี คนรับจ้างท างานหนัก,กรรมกร
กะละออม, กะออม หม้อน้ า
อาจาด ของกินแก้เลี่ยน เรียกผักดอง
สาเก ผลไม้ชนิดหนึ่ง
กุหร่า สีเทาแกมแดง,สีแดงส้ม
ตรียัมปวาย พิธีโล้ชิงช้า
ตรีปวาย พิธีพราหมณ์กระท ารับพระนารายณ์ ในวันแรม 1 ค่ า
ถึงแรม ๕ ค่ า เดือนยี่
อินทผลัม ชื่อปาล์มชนิดหนึ่งผลกินได้
กานพลู ต้นไม้ขนาดกลาง ดอกตูม มีรสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศและท ายา
ยี่หร่า เมล็ดแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องเทศได้