Page 19 - วิจัยยยย
P. 19
น่าสนใจว่า กองทนฯ ควรให้เงินกู้แก่ผู้เรียนในระดังสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ส าหรับการศึกษาขั้น
พื้นฐานรัฐควรจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาให้แก่ผู้เรียนในรูปแบบอื่น ส าหรับเรื่องการติดตามนักศึกษาควร
มีการติดตามเงินกู้ที่ได้ให้นักศึกษากู้ไปว่านักเรียน นักศึกษา ได้ใช้ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และ
เร่งหามาตรการในการลงโทษกับผู้ที่ใช้เงินกู้แบบผิดวัตถุประสงค์ในส่วนการช าระหนี้คืนกองทนฯนั้น ผู้วิจัย
เสนอให้กรมสรรพากรกระทรวงการคลังเป็นผู้ด าเนินการแทนเพื่อให้เกิดการช าระหนี้ที่รัดกุมและเข้มงวด
และเพื่อจูงใจให้ผู้กู้ช าระหนี้อย่างเต็มความสารถเป็นเวลา 25 ป ี แม้ว่าหนี้เงินกู้ยังไม่หมด ผู้กู้ควรได้รับการ
ยกเว้นหนี้ นอกจากนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และกองทุนฯ
สามารถด ารงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระกับงบประมาณในอนาคต ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการปรับแก้
ไข พ.ร.บ. กองทุนให้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 ในเรื่องเกี่ยวกับผู้ติดตามการช าระหนี้ องค์ประกอบของ
คณะกรรมการและการบริหารกองทุน อ านวยและหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ และผู้จัดการกองทุนฯ
ชุลีกร กนธวงศ์ (2552) ได้ท าวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างช าระสินเชื่อนโยบายรัฐ ของ
ธนาคารออมสิน เขตเพชรบุรี พบว่าปัจจัยภายนอก และปัจจัยที่เกิดจากลูกหนี้ที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างช าระ
สินเชื่อนโยบายรัฐ
อนุสรณ์ ธรรมใจ (2561) ได้ท าการวิจัยเรื่องปัญหาหนี้สิน กยศ. นโยสันบสนุนการเงินนักศึกษา
ยากจน พบว่าปัญหาหนี้เสียจ านวนมากของ กนศ. เป็นผลจากผู้กู้เงินจาก กยศ. คืนเงินให้กับกองทุนคิดเป็น
จ านวนที่ต ่ากว่าประเทศอื่นมาก การไม่ช าระหนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ของหนี้ทั้งหมด จ านวนที่ได้คืนมา
นี้เมื่อหักด้วยค่าใช้จ่ายในการด าเนินการต่างๆของกองทุนแล้วจะเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ท าให้กองทุน
กยศ. มีอัตราการคืนทุนในระดับต ่ามาก กรณีนักศึกษากู้ยืมเงิน กยศ. แล้วไม่ช าระหรือเบี้ยวหนี้ จนท าให้ครู
ผู้ช่วยค ้าประกันต้องรับผิดชอบแทนจนถูกฟ้ องร้องบังคับคดีนั้น ทางกองทุน กยศ. ควรงดการบังคับคดีใน
กรณีดังกล่าว และหาวิธีการในการบังคับหนี้จากผู้เป็นหนี้โดยตรงก่อน ไม่ควรต้องให้ครูที่ท าหน้าที่ในการ
ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ศิษย์ต้องเดือดร้อน ผลสรุปของงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า กยศ.ยังไม่สามารถแก้ไข
ปัญหาความเหลื่อมล ้าทางการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับครอบครัวฐานะยากจน อันน ามาสู่
การกระจายรายได้และการลดความเหลื่อมล ้าทางเศรษฐกิจและสังคมได้ดีนัก เนื่องจากยังไม่สามารถเข้าถึง
กลุ่มเป้ าหมายผู้ขาดแคลนและมีรายได้น้อย ผู้กู้ที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน (มีรายได้ไม่เกิน 30,000
บาทต่อปี) มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 15-20 จากผู้กู้ทั้งหมด ขณะที่ผู้กู้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวฐานะปานกลาง
คิดเป็นร้อยละ 80 กยศ.จึงต้องเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาและขาดทุนทรัพย์
11