Page 70 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 70

60


                       จนกระทั่งมีคุณภาพดีพอจึงสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบนั้น สามารถใช้เป็นหลักและ

                       เปรียบเทียบผลเพื่อประเมินค่าของการเรียนการสอนในเรื่องนั้น ๆ ก็ได้ จะใช้วัดอัตราความ

                       งอกงามของเด็กแต่ละวัยในแต่ละกลุ่มแต่ละภาคก็ได้ จะใช้ส าหรับให้ครูวินิจฉัยผลสัมฤทธิ์

                       ระหว่างวิชาต่าง ๆ ในเด็กแต่ละคนก็ได้ (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 146-147)

                                     นอกจากนี้  บุญชม ศรีสะอาด (2545 : 53) ได้กล่าวว่า แบบทดสอบ

                       ผลสัมฤทธิ์(Achievement Test) หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของ

                       บุคคลในด้านวิชาการซึ่งเป็นผลจาการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและตามจุดประสงค์ของวิชา

                       หรือเนื้อหาที่สอนนั้น โดยทั่วไปจะวัดผลสัมฤทธิ์ในวิชาต่าง ๆ ที่เรียนในโรงเรียน วิทยาลัย

                       มหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อาจจ าแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

                                     1. แบบทดสอบอิงเกณฑ์ (Criterion Referenced Test) หมายถึง แบบทดสอบ

                       ที่สร้างขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีคะแนนจุดตัดหรือคะแนนเกณฑ์ส าหรับใช้ตัดสิน

                       ว่าผู้สอบมีความรู้ตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้หรือไม่ การวัดตรงตามจุดประสงค์เป็นหัวใจส าคัญ

                       ของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้

                                     2. แบบทดสอบอิงกลุ่ม (Norm Referenced Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่ง

                       สร้างเพื่อวัดให้ครอบคลุมหลักสูตร จึงสร้างตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร ความสามารถใน

                       การจ าแนกผู้สอบตามความเก่งอ่อนได้ดี เป็นหัวใจของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้

                       การรายงานผลการสอบอาศัยคะแนนมาตรฐานซึ่งเป็นคะแนนซึ่งเป็นคะแนนที่สามารถให้


                       ความหายแสดงถึงสถานภาพความสามารถของบุคคลนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น ๆ ที่
                       ใช้กลุ่มเปรียบเทียบ


                              จากข้อความดังกล่าวสรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง

                       แบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถของบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาและ

                       ตามจุดประสงค์ของวิชาที่สอบนั้น ๆ ซึ่งจะมีทั้งแบบทดสอบอิงกลุ่ม ที่มุ่งสร้างให้

                       ครอบคลุมหลักสูตร และแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ซึ่งสร้างขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มี

                       คะแนนจุดตัดหรือเกณฑ์ในการตัดสินผู้เรียน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย ใช้แบบทดสอบ
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75